วันอาทิตย์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2551

พระราชกรณียกิจ(ต่อ)

การจัดตั้งสหกรณ์แบบอเนกประสงค์ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้น นอกจากเกษตรกรจะสามารถรวมตัวกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้แล้ว ยังเป็นการป้องกันมิให้พ่อค้าคนกลางเข้ามาเอารัดเอาเปรียบได้ เพราะเมื่อรวมตัวกันได้ดีย่อมมีอำนาจในการต่อรอง และสมาชิกสหกรณ์นั้นเองก็จะมีความรักใคร่กลมเกลียวกันดี หาไม่แล้วกิจการสหกรณ์ย่อมไม่สามารถดำเนินการไปได้อย่างราบรื่น และในส่วนพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้น มีพระราชประสงค์ที่จะให้มีการใช้ระบบสหกรณ์ออกไปให้แพร่หลายทั่วประเทศ เพราะวิธีการของสหกรณ์นั้นเองจะเป็นรากฐานที่ดีของระบอบประชาธิปไตยอย่างสำคัญ เนื่องจากสอนให้คนรู้จักรับผิดชอบร่วมกัน ให้มีการเลือกตัวแทนเข้าไปบริหารสหกรณ์ ตลอดจนได้รู้ถึงคุณค่าและประโยชน์ที่จะได้รับด้วยกันเป็นส่วนรวม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมสมาชิกสหกรณ์กลุ่มต่างๆ เป็นประจำ และแต่ละครั้งที่เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยม ก็จะพระราชทานแนวทางและข้อแนะนำที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานของกิจการสหกรณ์ อันเป็นขวัญกำลังใจอย่างยิ่งแก่สมาชิกสหกรณ์กลุ่มต่างๆ ที่ได้รับพระมหากรุณาพระราชทานพระราชดำริและข้อแนะนำต่าง ๆในการดำเนินงานคนไทยกินข้าวเป็นอาหารหลักเหมือนคนเอเชียส่วนใหญ่ทั่วไป ชาวนาไทยที่ปลูกข้าวเป็นอาชีพหลักเป็นเกษตรกรนั้นเป็นพลเมืองส่วนใหญ่ของประเทศ แต่ชาวนาเองกลับต้องซื้อข้าวมาบริโภคในราคาแพงซึ่งขัดแย้งกันกับอาชีพที่ทำอยู่เป็นอย่างยิ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทราบข้อเท็จจริงในเรื่องนี้เป็นอย่างดี จึงทรงห่วงใยต่อฐานะความเป็นอยู่ของชาวนา และจากการที่พระองค์เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรอย่างสม่ำเสมอ ได้ทรงซักถามทุกข์สุข รับสั่งถามถึงอาชีพการทำมาหากินของราษฎร ก็ทรงตระหนักว่าชาวนาส่วนใหญ่มีหนี้ติดตัวเป็นประจำ เพราะขาดเงินทุนต้องไปกู้ยืมเงินจากนายทุนมาลงทุนปลูกข้าว ปีใดฝนฟ้าเป็นใจตกต้องตามฤดูกาล ปีนั้นก็ได้ผลผลิตดี ถ้าปีใดเกิดภาวะฝนแล้งหรือฝนตกมากไปอุทกภัย ปีนั้นก็อาจจะเสียหายหมดตัว หรือไม่ก็อาจจะได้ผลผลิตน้อย ไม่สามารถนำผลิตไปจำหน่ายนำเงินไปชำระหนี้ได้ และบ่อยครั้งที่ถูกเร่งรัดหนี้สิน ประกอบกับไม่มียุ้งฉางที่จะจัดเก็บรักษาข้าวเอาไว้ขายในตอนราคาข้าวราคาดี ก็จำเป็นต้องขายข้าวเปลือกไปในราคาถูกตามที่พ่อค้าคนกลางจะกำหนด พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงมีพระราชดำริว่า การที่จะช่วยเหลือชาวนาได้ก็จะต้องทำให้ชาวนานั้นเข้าใจและรู้วิธีการรวมกลุ่มกันในรูปแบบสหกรณ์ทำการสีข้าวเปลือกเอง หรือตั้งตัวแทนกลุ่มทำการสีข้าวที่เป็นผลผลิตของตนสำหรับไว้บริโภคในครัวเรือของแต่ละครอบครัวให้พอเพียงที่จะบริโภคได้ตลอดปีเสียก่อนเมื่อมีเหลือจากการบริโภคในครัวเรือนแล้วจึงค่อยนำไปจำหน่ายเป็นรายได้ของครอบครัว แทนที่จะต้องนำข้าวเปลือกไปจ้างผู้อื่นให้สีให้ ซึ่งหากดำเนินการตามพระราชดำริได้อย่างนี้ก็จะเป็นการช่วยเหลือชาวนาได้ทางหนึ่ง เหตุนี้จึงโปรดฯให้จัดสร้างโรงสีข้าวตัวอย่างขึ้นที่โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา เมื่อสร้างเสร็จได้เสด็จลง ณ โรงสีข้าวตัวอย่าง ทรงเปิดกิจการสีข้าวเมื่อวันที่ ๘ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๑๔ โรงสีข้าวตัวอย่างที่โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา ได้มีการพัฒนาการกรรมวิธีการสีข้าวให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นต่อเนื่องมาโดยตลอด และได้พัฒนาการกรรมวิธีการสีข้าวให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นต่อเนื่องมาโดยตลอด และได้เปิดให้เกษตรกรและผู้ที่มีความสนเข้าชมกิจการได้ เพื่อที่เกษตรกรผู้สนใจสามารถจะนำเป็นแบบดำเนินการได้เอง ซึ่งเป็นแก้ปัญหาให้ชาวนาได้ส่วนหนึ่งสมดังพระราชประสงค์ที่ได้ทรงตั้งพระราชหฤทัยไว้ ความห่วงใยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงมีต่อชาวนานั้นเกิดขึ้นมานานแล้ว และจักได้จากพระราชดำรัสที่พระราชทานแก่ผู้นำกลุ่มชาวนาในพิธีเปิดการชุมนุมผู้นำกลุ่มชาวนาทั่วประเทศ ครั้งที่ ๓ ที่จัดขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ ๑๙ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๐๘ ความตอนหนึ่งว่า "...ข้าพเจ้ามีโอกาสได้ศึกษาและทดลองทำนามาบ้าง และทราบดีว่าการทำนานั้นมีความยากลำบากเป็นอุปสรรคอยู่มิใช่น้อย จำเป็นต้องอาศัยพันธุ์ข้าวที่ดี และต้องใช้วิธีการต่างๆด้วย จึงจะได้ผลเป็นล่ำเป็นสัน...ในการชุมนุมครั้งนี้... จึงใคร่จะขอให้ท่านทั้งหลายตั้งใจฟังคำบรรยาย ทำความเข้าใจในวิธีการใหม่ๆให้แจ่มแจ้งทุกๆข้อ...จะได้นำวิชาการใหม่ๆนี้ไปใช้ปรับปรุงการทำนาของสมาชิกในกลุ่มให้ได้ผลดียิ่งขึ้น..."พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทราบอยู่ในพระราชหฤทัยเป็นอย่างดีว่าสังคมไทยของเรานั้นมีรากฐานมาจากสังคมเกษตรกรรม แม้ในปัจจุบันนี้สภาพของสังคมไทยที่แท้จริงก็ยังคงดำเนินอยู่เช่นนั้น เพราะประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศก็ยังคงมีอาชีพหลักในการทำไร่ ทำนา ทำสวนปลูกพืชผัก คือยังคงดำรงชีพด้วยการทำการเกษตรนั่นเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปลูกข้าว ซึ่งเป็นพืชหลักที่เกษตรกรส่วนใหญ่ของประเทศยังคงเป็นผู้ผลิตอยู่ ในอดีตข้าวเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญในลำดับต้นๆของสินค้าส่งออกของประเทศไทยที่ทำเงินตราเข้าประเทศได้ปีหนึ่งๆ เป็นจำนวนมากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักในข้อนี้อย่างดียิ่งดังที่กล่าวมาแล้ว เหตุนี้จึงสนพระราชหฤทัยที่จะศึกษาทดลองปลูกมาตั้งแต่พุทธศักราช ๒๕๐๔ โดยเสด็จลง ณ บริเวณโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรดา เพื่อทรงหว่านข้าวในแปลงนาสาธิตเมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๐๔ ทำการทดลงปลูกข้าวโดยวิธีการใส่ปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมีในอัตราส่วนต่างๆกัน จากนั้นก็เฝ้าทอดพระเนตรการเจริญงอกงามของเมล็ดข้าวที่ทรงหว่านไว้ ทรงเก็บข้อมูลทุกระยะนับแต่เมล็ดข้าวเริ่มงอกจนสามารถเก็บเกี่ยวได้ ตลอดจนถึงการนวดข้าว เพื่อจะได้ทรงเปรียบเทียบได้ว่าการใส่ปุ๋ยให้ข้าวในอัตราส่วนใดจึงจะให้ผลผลิตได้มากที่สุด ดังนั้น พระองค์จึงสามารถรับสั่งได้ว่าทรงเคยทดลองทำนามาบ้างแล้วดังพระราชดำรัสที่ได้อัญเชิญมากล่าวไว้แล้วข้างต้น และตั้งแต่พุทธศักราช ๒๕๐๕ เป็นต้นมา ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานเมล็ดพันธุ์ข้าวส่วนหนึ่งที่เก็บเกี่ยวจากแปลงนาสาธิตจากโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต ไปใช้ในการพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และ ณ มณฑลพระราชพิธีท้องสนามหลวงพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญเป็นพระราชพิธีเก่าแก่สืบเนื่องมาแต่โบราณกาล และมีพิธีทำนองเดียวกันนี้อีกหลายประเทศในทวีปเอเชีย ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริว่าพระราชพิธีนี้มีแต่พิธีพราหมณ์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เพิ่มพระราชพิธีพืชมงคลซึ่งเป็นพิธีทางพุทธศาสนาผนวกเข้าเป็นพระราชพิธีต่อเนื่องกัน รวมเป็นพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ นับว่าเป็นประเพณีที่สำคัญของชาติอย่างหนึ่งที่ปฏิบัติสืบเนื่องกันมาจนถึงพุทธศักราช ๒๔๗๙ แล้วก็ว่างเว้นไป จนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลปัจจุบันมีพระราชดำริให้ฟื้นฟูขึ้นใหม่เมื่อพุทธศักราช ๒๕๐๓ ให้ต้องตามโบราณราชประเพณี เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่พืชพันธุ์ธัญญาหาร ตลอดจนเป็นการบำรุงขวัญและเพิ่มพูนกำลังใจแก่เกษตรกรซึ่งเป็นประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ จึงได้เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชพิธีนี้สืบต่อมาทุกปี และยังพระราชทานพระมหากรุณาให้บรรดาเกษตรกรได้เข้าเผ้าทูลละอองธุลีพระบาทในสวนจิตรลดาเมื่อเสร็จการพระราชพิธีที่ท้องสนามหลวงด้วย เช่น เมื่อวันที่ ๗ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๒๔ ได้พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ผู้นำ สหกรณ์การเกษตรสหกรณ์นิคม และสหกรณ์ประมงทั่วประเทศ เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ความตอนหนึ่งว่า "...ที่ท่านทั้งหลายได้มีโอกาสได้เข้าร่วมในพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญในวันนี้ ซึ่งถ้าคิดไปก็เป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์เพราะว่าทั่วโลกนี้ดูเหมือนจะมีต่อเมืองไทยที่มีพิธีของส่วนกลางเพื่อเป็นสิริมงคลแก่เกษตร... ชาวเกษตรกรทั้งหลายย่อมทราบดีว่าความเป็นมงคลนี้สำคัญยิ่งในการปฏิบัติงานของการเกษตร..."ความที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเข้าพระราชหฤทัยอย่างถ่องแท้ว่า ประเทศไทยนั้นหากจะพัฒนาไปให้ถูกทิศทางแล้ว ก็ควรมุ่งเน้นพัฒนาให้มีความเจริญก้าวหน้าทางด้านเกษตรอุตสาหกรรม ทั้งนี้ เพราะจากการที่ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรในภูมิภาคต่างๆได้ทอดพระเนตรพบว่าทั้งสภาพภูมิอากาศและสภาพภูมิประเทศของประเทศไทยนั้น เหมาะสมกับภาคเกษตรอุตสาหกรรมมากกว่าภาคอุตสาหกรรม ดังนั้นจะสังเกตได้ว่า เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมเกษตรกร ก็จะทรงมุ่งเน้นที่จะแนะนำให้เกษตรเหล่านั้นทำเกษตรกรรมโดยใช้หลักวิชาการให้ถูกต้อง กับทรงแนะนำให้ใช้เทคโนโลยีพื้นๆที่เหมาะสมแก่เกษตรกรของแต่ละท้องถิ่น โดยให้พึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศให้น้อยที่สุด หรือถ้าไม่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศที่จะต้องอาศัยการนำเข้าหรือที่ประเทศไทยเราไม่สามารถผลิตหรือประดิษฐ์ขึ้นใช้เองได้เลยก็จะยิ่งเป็นการดีจะทรงแนะนำให้เกษตรกรที่เป็นชาวนาปลูกพืชชนิดอื่นหลังเก็บเกี่ยวข้าวในนาแล้วเพื่อเป็นการเพิ่มคุณภาพของดินให้ดีขึ้น หรือที่เป็นเกษตรกรทำไร่ เลี้ยงสัตว์ ก็ทรงแนะนำให้ปลูกพืชชนิดต่างๆคละกันไป เพื่อลดความเสี่ยงหากพืชชนิดหนึ่งชนิดใดไม่ได้ผล ก็จะยังมีพืชชนิดอื่นที่ปลูกไว้ทดแทนได้ และหากเป็นไปได้ก็ให้เลี้ยงสัตว์ควบคู่กันไปด้วย อย่างน้อยก็จะได้ประโยชน์จากมูลสัตว์นั้นมาทำเป็นปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก สำหรับบำรุงพืชที่เราปลูกการทำการเกษตรกรรมอย่างที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงแนะนำเกษตรกรดังที่กล่าวมานี้ เป็นการทำเกษตรกรรมแบบยั่งยืน เพราะหากเกษตรกรยังไม่สามารถที่จะพัฒนาตนเองให้มีความก้าวหน้าไปมากกว่านี้ได้เกษตรกรเหล่านั้นก็จะไม่เดือดร้อนเพราะยังสามารถทำการเกษตรที่พออยู่พอกินพอใช้ภายในครัวเรือนของตนต่อไปได้และถ้าได้ผลผลิตมาก เหลือจากการกินการใช้ในครัวเรือนแล้ว ก็ยังสามารถนำไปจำหน่ายเป็นรายได้ของครอบครัวต่อไป แต่ถ้าเกษตรกรรายใดมีความขยันหมั่นศึกษามีการค้นคว้าหาความรู้ใส่ตนอยู่เสมอๆ คอยติดตามคอยติดต่อสอบถามและมีการประสานงานกับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องในเรื่องนั้นๆ ซึ่งมีหน้าที่ที่จะให้ความช่วยเหลือด้านการให้ความรู้และแนะนำการดำเนินงานตามหลักวิชาการอยู่แล้ว เกษตรกรรายนั้นก็สามารถที่จะพัฒนาตนเองให้มีความก้าวหน้าขึ้นไปในระดับที่สูงขึ้นได้ถึงระดับภาคเกษตรอุสาหกรรมที่สามารถผลิตสินค้าส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศได้ ดังนั้นการอยู่อย่างเฉลียวฉลาดตามนัยแห่งพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คือใช้สติปัญญาใคร่ครวญไตร่ตรองให้ดีว่า ควรจะทำอย่างไรที่ไม่เป็นการเกินกำลังของตน คือไม่ทำอะไรเกินตัวนั่นเอง ดังนั้น ในสถานการณ์ปัจจุบันที่เศรษฐกิจของประเทศไทยกำลังถดถอย ผู้ที่ไม่ได้เดือดร้อนจากวิกฤตการณ์นี้ ก็คือผู้ที่ปฏิบัติตนตามแนวพระราชดำริมาตั้งแต่แรก ที่ทรงแนะนำให้ทำเพื่อพออยู่พอกินพอใช้ตามกำลังแห่งตนเสียก่อน และได้ทรงเน้นให้เห็นชัดอีกครั้งเมื่อพระราชทานพระราชดำรัสแก่คณะบุคคลต่างๆที่เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ถวายพระพรชัยมงคลในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรดา เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๔๐ ตอนหนึ่งว่า "คนเขานึกว่าประเทศไทยจะเป็นเสือตัวเล็กๆแล้วก็เป็นเสือตัวโตขึ้น เราไปเห่อว่าจะเป็นเสือ ความจริงเคยพูดเสมอ....ว่า การจะเป็นเสือหรือไม่นั้นมันไม่สำคัญ สำคัญที่เราพออยู่พอกิน และมีเศรษฐกิจ มีความเป็นอยู่แบบพอมีพอกิน คืออุ้มชูตัวเองได้ให้มีพอเพียงกับตัวเอง..."พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้นทรงมีความห่วงใยต่อชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎรในชนบทเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะราษฎรที่มีอาชีพทำนาทำไร่ เลี้ยงสัตว์ ปลูกพืชผัก เพราะนับวันลูกหลานของราษฎรเหล่านี้ต่างก็พากันทิ้งถิ่นฐานภูมิลำเนาเดิมเดินทางเข้าไปหางานทำในเมืองใหญ่ซึ่งนอกจากจะก่อให้เกิดปัญหาขึ้นในเมืองใหญ่ เพราะแออัดไปด้วยผู้คนแล้ว ภาคเกษตรกรรมในพื้นที่จังหวัดต่างๆที่ไม่ใช่เมืองใหญ่ก็พลอยว่างคนทำงานไปด้วย เหตุนี้ถ้าสังเกตให้ดีๆก็จะพบว่าทุกครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมเกษตรกรในภูมิภาคใดก็ตาม ก็จะทรงแนะนำให้เกษตรกรเกิดความท้อถอยในการประกอบอาชีพทางการเกษตร จะทรงให้กำลังใจและโปรดฯให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้เข้าไปช่วยเหลือให้ความรู้ทางวิชาการ สำหรับทำเกษตรกรรมให้ได้ผลผลิตดียิ่งขึ้นเพื่อที่เขาจะได้เลี้ยงตนเองและครอบครัวได้จะได้ไม่คิดจะละทิ้งถิ่นฐานที่อยู่ของตน แล้วตั้งหน้าตั้งตาแต่จะเดินทางเข้าไปหางานทำในเมือง แทนที่จะทำเกษตรกรรมให้พอมีพอกินตามอัตภาพของตน ซึ่งไม่มีทางที่จะอดตายไปได้ ตรงกันข้ามกับการเข้าไปหางานทำในเมืองใหญ่ ที่จะมาจากภายนอกได้ แต่การพัฒนานั้นก็จะต้องสอดคล้องกันกับความสามารถที่จะรับได้ของบรรดาเกษตรกรและตามความต้อการของชุมชนนั้นๆด้วย ไม่ใช่ไปยัดเยียดให้ในขณะที่ชุมชนของตนเข้มแข็ง ได้พระราชทานพระบรมราโชวาทเป็นแนวทางให้แก่กลุ่มชาวไร่ผักในพระบรมราชูปถัมภ์ ณ ตำบลเขาใหญ่ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ไว้เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๑๓ ตอนหนึ่งว่า "...ถ้าแต่ละคนมีความขยันหมั่นเพียร ทางราชการและผู้มีวิชาอื่นๆที่ไม่ใช่ทางราชการก็จะช่วย แล้วความเดือดร้อนต่างๆก็บรรเทาไป ไม่ให้เป็นทุกข์..." สำหรับในส่วนวิชาการนั้น เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานปริญญาบัตร ณ สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์ เมื่อวันที่ ๑๙ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๒๒ ได้พระราชทานพระบรมราโชวาทตอนหนึ่งว่า "...นักบริหารการพัฒนามีภาระสำคัญในการที่จะต้องเป็นผู้นำและตัวการควบคุมการพัฒนาบ้านเมือง ให้เจริญก้าวหน้าไปอย่างเหมาะสมถูกต้อง สู่ทิศทางและสภาพที่ทุกฝ่ายพึงปรารถนา..จะต้องมีความรอบรู้และความเข้าใจอันกระจ่างและเพียงพอในข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ที่เกี่ยวพันกับงานที่จะทำทั้งหมด รวมทั้งระบบชีวิตของคนไทย อันได้แก่ความเป็นอยู่ ความต้องการ วัฒนธรรม และความรู้สึกนึกคิดโดยเบ็ดเสร็จด้วย จังจะทำงานให้บรรลุเป้าหมายได้.."ในประเทศไทยนั้น ผู้ที่รู้อย่างลึกซึ้งถึงสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศในแต่ละพื้นที่ และรู้ว่าในพื้นที่นั้นๆ ควรจะทำเกษตรกรรมแบบใดจึงจะเหมาะสมนั้น คงจะไม่มีผู้ใดที่จะรู้ได้เท่าที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทราบเพราะได้เสด็จพระราชดำเนินไปทั่วทุกภูมิภาคเพื่อทอดพระเนตรทุกข์สุขของราษฎร จึงทรงทราบเป็นอย่างดีว่าในแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกันออกไปด้วยตามสภาพของทรัพยากรในแต่ละพื้นที่ได้มีความรู้ถึงความเหมาะสมของการทำเกษตรกรรมในพื้นที่ของตน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เลือกสถานที่ที่เหมาะสมแล้วจัดตั้งศูนย์ศึกษาพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริขึ้นในภูมิภาคต่างๆรวม ๖ ศูนย์ ได้แก่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นศูนย์ศึกษาการพัฒนา อันเนื่องมาจากพระราชดำริแห่งแรก ก่อตั้งเมื่อวันที่ ๘ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๒๒ เพื่อเป็นศูนย์รวมของการพัฒนาด้านการเกษตรเน้นการปรับปรุงและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติของดินและน้ำให้มีความสมบูรณ์ เนื่องจากสภาพพื้นที่แห่งนี้มีการตัดไม้ทำลายป่าเพื่อใช้พื้นที่ปลูกพืชไร่ จนทำให้ดินจืดและเสื่อมคุณภาพ จนกลายเป็นดินทรายไม่สามารถทำประโยชน์ได้ จึงได้พระราชทานพระราชดำริให้ทำการฟื้นฟูสภาพของดิน เพื่อให้เกษตรกรสามารถใช้ในการประกอบอาชีพได้ โดยดำเนินการพัฒนาด้านต่างๆ เช่น พัฒนาปรับปรุงที่ดินโดยใช้ปุ๋ยพืชสดและการปลูกพืชตระกูลถั่วเป็นพืชแซม การป้องกันศัตรูพืชโดยวิธีธรรมชาติ การศึกษาความเหมาะสมของการใช้ประโยชน์ที่ดินในการปลูกไม้ผล การศึกษาพันธุ์ลูกผสมสองชั้น การฟื้นฟูสภาพป่า การฝึกอบรมด้านศิลปาชีพ รวมทั้งแนะนำส่งเสริมระบบสหกรณ์ให้แก่เกษตรกรซึ่งจะได้เป็นหนทางให้เกษตรกรได้มีรายได้ที่มั่นคงศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระบวน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริได้บันทึกไว้ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริ เมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๒๔ ว่า "...ให้พิจารณาพื้นที่ที่เหมาะสมจัดทำโครงการพัฒนาด้านอาชีพการประมงและการเกษตรในเขตพื้นที่ชายฝั่งตะวันออกของจังหวัดจันทบุรี..." เนื่องจากพื้นที่แห่งนี้มีสภาพเป็นดินเค็ม เพราะมีน้ำทะเลท่วมถึง และมีปัญหาเรื่องความเสื่อมโทรมของสภาพื้นที่ป่าชายเลน จึงพระราชทานพระราชดำริให้ทำการศึกษา ทดลอง ค้นคว้า วิจัย เพื่อปรับปรุงสภาพแวดล้อมด้านการประมงชายฝั่งให้แก่ราษฎร พร้อมทั้งอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลนอันเป็นแหล่งอาหารที่สมบูรณ์ที่จะทำให้สัตว์นำเจริญเติบโตและเจริญพันธุ์ต่อไปได้ แต่พื้นที่เหล่านั้นถูกบุกรุกถูกทำลายอย่างรวดเร็ว จึงต้องเน้นและแนะนำให้ราษฎรได้รู้คุณค่าของป่าชายเลน เน้นให้ราษฎรได้มีความรู้เรื่องป่าชายเลนและเห็นความสำคัญของป่าชายเลนว่าเป็นห่วงลูกโซ่ของแหล่งอาหารที่ตนเองได้ใช้ประโยชน์จากากรทำอาชีพประมงอยู่ ข้อสำคัญคือ ให้ราษฎรช่วยกันอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลนให้มีสภาพที่สมบูรณ์และคงไว้ซึ่งระบบนิเวศน์วิทยา ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในระยะยาวต่อไปในอนาคตแก่ราษฎรที่อาศัยในพื้นที่นั้นเองศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดราธิวาส จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๖ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๒๕ โดยมีพระราชดำริให้เป็นศูนย์ศึกษาการพัฒนาเพื่อทำการศึกษาทดลองวิจัยและปรับปรุงสภาพป่าพรุที่เสื่อมโทรมให้สามารถนำมาใช้ทำการเกษตรได้ ศูนย์แห่งนี้มีพื้นที่ดำเนินการประมาณ ๑,๗๔๐ ไร่ และนอกจากมีหน้าที่ดังที่กล่าวมาแล้ว ก็ให้ดำเนินการทำการศึกษาค้นคว้าทอดลอง วิจัย ทดสอบการปลูกพืช การเลี้ยงสัตว์ การทำประมงน้ำกร่อยซึ่งมีสภาพน้ำเปรี้ยว และการปลูกไม้โตเร็วในพื้นที่พรุเพื่อประโยชน์ในทางอุตสาหรกรม การทำสวนยางครบวงจร การปรับปรุงและการบำรุงรักษาป่าการพัฒนาอาชีพ ตลอดจนจัดหาพันธุ์ไม้ดอกที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ทางภาคใต้เพื่อราษฎรได้ใช้ปลูกจำหน่ายเป็นรายได้เสริม ศูนย์แห่งนี้นับเป็นต้นแบบของการพัฒนาพื้นที่พรุที่ประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี ซึ่งจะเป็นแบบต่อการพัฒนาพื้นที่พรุแห่งอื่นๆต่อไปศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน อันเนื่องมากจากพระราชดำริ อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร มีพระราชดำริเมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๒๕ ให้พิจารณาจัดทำโครงการจัดหาน้ำสนับสนุนศูนย์ศึกษาพัฒนาภูพานฯ ซึ่งมีพื้นที่ ๒,๓๐๐ ไร่ เพื่อการศึกษาทดลองงานพัฒนาด้านการเกษตรสาขาต่างๆที่เป็นพื้นที่ดินปนทราย เค็ม ขาดแคลนน้ำ แล้วนำผลการศึกษาทดลองที่ได้ผลดีไปแนะนำให้ราษฎรได้ใช้เป็นแบบอย่าง นำไปปฏิบัติในที่ดินของตนเพื่อเพิ่มผลผลิตและรายได้ อันจะเป็นการทำให้ราษฎรที่ยึดอาชีพเป็นเกษตรกรมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ผลการศึกษาทดลองของศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ ประสบผลสำเร็จได้ดีหลายอย่าง เช่น การผลิตข้าวพันธุ์ดีเหมาะสมแก่ท้องถิ่น ได้แก่ ข้าว กข ๖ ข้าวดอกมะลิ ๑๐๕ หรือหอมภูพาน การปลูกพืชไร่ปลอดสารเคมี พันธุ์พืชไม้ผลที่ให้ผลผลิตดี ได้แก่ มะม่วง ลิ้นจี่ มะละกอ เป็นต้น การเพาะเห็ด การปลูกยางพารา หวายดง การบำรุงดินอย่างถูกวิธี ตลอดจนการให้ความรู้เกี่ยวกับการอาชีพอุตสาหกรรมในครัวเรือน เพื่อพัฒนาอาชีพของราษฎรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเมื่อดำเนินการศึกษาทดสอบจนแน่ใจว่าได้ผลสมบูรณ์แน่นอนแล้ว จึงได้ขยายผลการศึกษาดังกล่าวเผยแพร่ให้ราษฎรในหมู่บ้านรอบศูนย์ฯได้สามารถนำไปปฏิบัติในพื้นที่ของตนเองได้เป็นอย่างดีศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ เกิดขึ้นจากการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริ เมื่อวันที่ ๑๑ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๒๕ ให้พิจารณาจัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ ขึ้นเพื่อดำเนินการให้พื้นที่ ๘,๕๐๐ ไร่ที่อยู่บริเวณพื้นที่ป่าขุนแม่กวง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ให้เป็นศูนย์กลางในการศึกษารูปแบบการพัฒนาพื้นที่ต้นน้ำลำธาร เนื่องจากมีการตัดไม้ทำลายป่ากันเป็นจำนวนมาก เป็นผลให้เกิดสภาพแห้งแล้ว และเกิดไฟมากด้วย จะได้ดำเนินการหาแนวทางอนุรักษ์ป่าอันเป็นประโยชน์อย่างที่ ๔ และในการอนุรักษ์แหล่งต้นน้ำลำธารนั้นได้ดำเนินการ ๓ ประการด้วยกัน คือ ประการแรก ปลูกป่าในพื้นที่ที่มีการนำระบบชลประทานภายนอกเข้ามาเสริม ประการที่สอง ปลูกป่าตามแนวร่องเขาโดยใช้ฝายกักเก็บน้ำขนาดเล็กช่วยรักษาความชุ่มชื้น และประการที่สาม ปลูกป่าในเขตพื้นที่รับน้ำฝน ผลการดำเนินงานการอนุรักษ์แหล่งต้นน้ำลำธารประสบผลสำเร็จดี ทำให้ผืนป่ามีความสมบูรณ์อย่างยั่งยืนในขณะเดียวกันก็ได้มีการทดลองทำระบบการป้องกันไฟป่าเปียก ซึ่งสามารถลดปัญหาไฟป่าที่เกิดขึ้นได้ ทำให้เพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผืนป่าได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังมีการณรงค์ให้มีการปลูกหญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำในพื้นที่ลาดชันและพื้นที่ตามไหล่เขาเพื่อลดปัญหาการชะล้างพังทลายของหน้าดินอีกด้วยศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย อันเนื่องมาจากพระราชดำเนิน อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี เป็นศูนย์ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ ๒ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๒๖ ทั้งนี้ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชกระแสรับสั่งว่า "หากปล่อยทิ้งไว้จะกลายเป็นทะเลทรายในที่สุด" จึงได้โปรดให้จัดตั้งศูนย์แห่งนี้ขึ้น มีพื้นที่ดำเนินการประมาณ ๘,๗๐๐ ไร่ เพื่อพัฒนาด้านป่าไม้ให้เกิดความสนมดุลทางธรรมชาติและดำเนินการฟื้นฟูสภาพป่าที่เสื่อมโทรมให้กลับคืนมาเป็นป่าที่สมบูรณ์ให้ได้เนื่องจากในอดีตนั้นบริเวณพื้นที่แห่งนี้มีสภาพเป็นป่าโปรง ที่ต่อมามีคนไปตัดไม้สำหรับนำไปทำฟืนและถางป่าเพื่อใช้พื้นที่ปลูกพืชไร่จนพื้นที่หมดสภาพความเป็นป่าไม้เป็นผลให้ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล พื้นที่มีลักษณะเป็นที่อับฝน ดินขาดการบำรุงจนกลายเป็นดินจืดและเป็นดินดาน รวมทั้งเกิดการพังทลายของผิวดินค่อนข้างมากที่ดินบริเวณดังกล่าวนี้จึงไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ ส่วนการดำเนินการปลูกป่านั้นได้ให้ราษฎรที่ทำกินอยู่เดิมในพื้นที่แห่งนี้ได้มีส่วนร่วมในการดูแลรักษาป่า โดยการปลูกป่าที่ใช้ไม้โตเร็ว ไม้ผล และไม้เศรษฐกิจควบคู่ไปกับการพัฒนาและส่งเสริมอาชีพโดยทำการเกษตรแบบผสมผสาน ทำการเกษตรในระบบวนเกษตรหรือเกษตรธรรมชาติ พร้อมทั้งศึกษาการป้องกันไฟป่าในแบบ ระบบป่าเปียก และขยายพันธุ์สัตว์ป่า เพื่อปล่อยคืนสู่ธรรมชาติดังเช่นอดีตที่เคยเป็นมาศูนย์ศึกษาการพัฒนา อันเนื่องมาจากพระราชดำริทั้ง ๖ แห่งนี้ จะทำหน้าที่เสมือนพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต สำหรับทุกคนสามารถที่จะเข้าไปศึกษา ดูงาน ฝึกอบรมงานด้านต่างๆ โดยการเรียนรู้จากของจริง ไม่ใช่จากทฤษฎีแต่เพียงอย่างเดียว โดยจะมีเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องไปประจำทำงานอยู่ตามศูนย์แต่ละแห่งเพื่อคอยให้คำปรึกษา คำแนะนำแก่เกษตรกรและผู้ที่สนใจ เพราะเรื่องของการเกษตรนั้นจะต้องเกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆของสถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ ณ สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ เมื่อวันที่ ๑๙ กุมภาคมพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๒๕ ความตอนหนึ่งว่า "...ในการปฏิบัติงานเกษตรนั้น นักวิชาการเกษตรควรจะศึกษาสังเกตให้ทราบว่า เกษตรกรรมย่อมเป็นไปหรือดำเนินไปอย่างต่อเนื่องเป็นวงจร และเป็นส่วนหนึ่งของวงจรธรรมชาติ ซึ่งมีการเกิดสืบเนื่องทดแทนกันอย่างพิสดาร จากปัจจัยอย่างหนึ่ง เช่นพันธุ์พืช เมื่อได้อาศัยปัจจัยอื่นๆมีดิน น้ำ อากาศ เป็นต้น เข้าปรุงแต่ง ทำให้เกษตรกรได้พืชผลขึ้นมา พืชผลที่ได้มานั้น เมื่อนำไปบริโภคเป็นอาหาร ทำให้ได้พลังงานมาทำงาน เมื่อนำออกจำหน่ายก็ทำให้เกิดผลทางเศรษฐกิจขึ้นทั้งแก่ผู้ซื้อและผู้ผลิต คือผู้ซื้อย่อมนำไปทำประโยชน์ให้งอกเงยต่อไปได้ ผู้ผลิตก็ได้เงินทองมาจับจ่ายใช้สอยยังชีพ เห็นได้ว่าแม้เพียงงานเกษตรอย่างเดียว ยังจำเป็นต้องเกี่ยวพันกับงานต่างๆกับเหตุปัจจัยต่างๆมากมายหลายขอบข่าย ทั้งต้องเกี่ยวพันอาศัยกันอย่างถูกต้องสมดุลดวยจึงจะช่วยให้งานดำเนินต่อเนื่องและเจริญมั่งคงได้..."อย่างที่กล่าวมาแล้วว่าประเทศไทยเป็นประเทศกสิกรรม พลเมืองส่วนใหญ่ของประเทศเป็นกสิกร คือทำมาหาเลี้ยงชีพด้วยการทำการเกษตรกรมาแต่โบราณ ที่ปัจจุบันก็ยังคงสภาพเช่นนี้อยู่ แม้ว่าส่วนหนึ่งที่นอกจากจะสามารถผลิตอาหารเลี้ยงตัวเองได้แล้วยังสามารถผลิตอาหารเลี้ยงชาวโลกส่วนหนึ่งได้อีกด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทราบในเรื่องนี้อย่างดีและอย่างลึกซึ้ง ดังจะเห็นได้ จากพระราชกรณียกิจที่ทรงปฏิบัติ ซึ่งจะเน้นหนักไปในเรื่องของการจัดการทรัพยากรน้ำ เพราะน้ำเป็นปัจจัยอันสำคัญยิ่งต่อการทำเกษตรกรรม และในปัจจุบันคนไทยด้วยกันเองที่ต่างหาผลประโยชน์ส่วนตนด้วยการตัดไม้ทำลายป่าที่เปรียบเสมือนฟองน้ำคอยซับน้ำในฤดูฝนเอาไว้ แล้วค่อยๆคายน้ำออกทีละน้อยๆไปตามลำธารไหลลงห้วย คลอง บึง แม่น้ำต่างๆตลอดปี แต่เมื่อป่าไม้ถูกทำลายไปเสียมากต่อมาก ป่าที่เปรียบเสมือนฟองน้ำธรรมชาติที่จะคยอดูดซับน้ำในฤดูฝนเอาไว้ใช้ในฤดูแล้วจึงมีไม่เพียงพอ น้ำที่จะใช้ในการเกษตรจึงต้องขาดแคลนตามไปด้วย ประกอบกับทุกวันนี้พื้นที่ที่นำมาใช้ในการเกษตรมีเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม และประชาชนก็เพิ่มมากขึ้นเช่นกันด้วย ดังนั้น ปริมาณน้ำที่ใช้ในการอุปโภคบริโภคก็ต้องเพิ่มตาม แต่น้ำที่จะใช้กลับมีปริมาณลดลง การจัดการเรื่องทรัพยากรน้ำจึงเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดอีกเรื่องหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นห่วงอย่างยิ่ง เพราะถ้าขาดน้ำเสียแล้วก็ทำอะไรไม่ได้ยิ่งพระองค์ทรงตระหนักดีว่าประเทศไทยเป็นประเทศกสิกรรม ดังพระบรมราโชวาทที่พระราชทานในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๙๖ ตอนหนึ่งว่า "...จงพยายามนำเอาวิชาที่ได้ศึกษาเล่าเรียนมา ไปใช้ให้เป็นประโยชน์แก่ชาติบ้านเมืองให้เต็มที ประเทศไทยเป็นประเทศกสิกรรม วิชาที่ท่านได้ศึกษามาทุกสาขา ล้วนแต่เป็นคุณประโยชน์แก่กสิกรรมและการเศรษฐกิจของประเทศโดยตรง ดังนั้น โอกาสที่ท่านทั้งหลายจะช่วยกันสร้างชาติบ้านเมืองในด้านนี้ จึงมีอยู่มากมาย... จงพยายามช่วยกันทำหน้าที่นี้ให้ดีที่สุด..." และอีกตอนหนึ่งพระราชทานในโอกาสที่เสด็จพระราชดำเนินไปทรงดนตรี ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๑๔ ความว่า "...การเกษตรที่นี่มีความสำคัญจริง ถ้าไม่มีการเกษตรก็เกือบจะพูดได้ว่าเราจะต้องตายกันหมด เพราะจะไปอาศัยอาหารวิทยาศาสตร์ก็รูสึกว่าลำบากอยู่และกินไม่อิ่ม แต่ว่าทำไมคนถึงนึกว่าการเกษตรนี่เป็นสิ่งต่ำต้อย ที่ไม่สำคัญ ทั้งๆที่ความจริงเราต้องอาศัยการเกษตรเพื่อชีวิตของเรา..." พระบรมราโชวาททั้งสององค์นี้พะราชทานห่างกันถึง ๑๘ปี แต่ก็ทรงย้ำให้เห็นว่า กสิกรรม นั้นเป็นหัวใจของประเทศไทยโดยแท้ เหตุนี้พระราชกรณียกิจส่วนใหญ่ที่ทรงปฏิบัติจึงพบได้ว่าจะมีเรื่องของการจัดการทรัพยากรน้ำสอดแทรกอยู่เกือบทุกโครงการที่เป็นโครการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นบุญของราษฎรไทยที่มีพระมหากษัตริย์ผู้ทรงพระปรีชาสามารถรู้ซึ้งถึงสภาพอันแท้จริงของประเทศ ของราษฎร พระราชกรณียกิจที่ทรงปฏิบัติจึงตรงกับเป้าหมายที่สามารถทำให้ประเทศก้าวหน้าและปวงประชาได้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นทั้งนักวิชาการและนักปฏิบัติ ถ้าราษฎรสังเกตให้ดีก็จะเห็นว่าพระราชกรณียกิจที่พระองค์ทรงปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอนั้น มีการพัฒนากันมาอย่างต่อเนื่อง เพราะโดยพระราชอัธยาศัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้นจะทรงสังเกตอยู่เสมอว่าสิ่งใดที่เป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับเทคโนโลยีพื้นบ้านได้ ก็จะทรงนำมาทดลองใช้ และหากเกิดผลดีก็จะพระราชทานเป็นแนวทางให้ผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องรับไปเผยแพร่ให้ความรู้แก่ราษฎรทั่วไป คือจะทรงทดลองด้วยพระองค์เองก่อนว่าจะได้ผลเป็นอย่างไร จะไม่ทรงหยุดนิ่งอยู่กับที่ จะทรงค้นคว้าวิจัยอยู่ตลอดเวลา พระองค์มีรับสั่งย้ำอยู่เสมอๆว่าการหยุดนิ่งอยู่กับที่เท่ากับเป็นการล้าหลัง เพราะทุกสรรพสิ่งล้วนแต่มีการพัฒนาการไปข้างหน้าด้วยกันทั้งนั้น และเพราะพระองค์ทรงเป็นทั้งนักวิชาการและนักปฏิบัตินี่เองจึงทรงทราบถึงพระราชทานในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรและอนุปริญญาบัตร ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อพุทธศักราช ๒๔๙๗ ความว่า "...การเกษตรกรรมนั้นสำคัญมากในปัจจุบันนี้นานาประเทศทั่วโลกต่างมุ่งหน้าทำนุบำรุง ส่งเสริมให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น เพื่อเป็นปัจจัยสำคัญในอันที่จะนำความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจมาสู่ประเทศไทยของตน...ฉะนั้น ขอให้ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยนี้จงพยายามนำวิชาที่ได้ศึกษามาแล้วทุกสาขาซึ้งล้วนแต่เป็นคุณประโยชน์เกี่ยวแก่การเกษตรและการเศรษฐกิจโดยตรง ไปใช้ให้บังเกิดประโยชน์ กับขอให้พยายามแสวงหาความรู้เพิ่มเติม และค้นคว้าวิทยาการแผนใหม่ๆมาใช้ให้ทันสมัยอยู่เสมอ ประเทศชาติอันเป็นที่รักของเราจักได้เจริญก้าวหน้าทันเทียมกับประเทศที่มีการเกษตรกรรมเจริญแล้วอย่างทันสมัย..." และพระบรมราโชวาทอีกตอนหนึ่งที่พระราชทานในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรและอนุปริญญาบัตร ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อวันที่ ๑๙ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๐๕ ความว่า "...กสิกรรมและเกษตรกรรมเป็นเรื่องสำคัญมาก ท่านทั้งหลายจะต้องช่วยกันค้นคว้าความรู้และความชำนาญให้กว้างขวางยิ่งขึ้นเสมอ และพยายามส่งเสริมเผยแพร่ความรู้ที่ได้ศึกษามาแก่พี่น้องกสิกรและเกษตรกรให้ได้ทราบถึงวิธีปฏิบิอันถูกต้องตามหลักวิชาอีกด้วย จึงจะเกิดประโยชน์แก่สังคมในด้านนี้และเป็นผลดีแก่ประเทศชาติสืบไป..."พระบรมราโชวาทที่ได้อัญเชิญมาข้างต้นนั้นแสดงให้เห็นว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงห่วงใยราษฎรที่ประกอบอาชีพทางการเกษตรเป็นอย่างยิ่ง จึงทรงเพียรย้ำให้บรรดาผู้ที่มีหน้าที่ที่จะต้องรับผิดชอบต่อพี่น้องเกษตรกรชาวไทยได้สำนึกในหน้าที่ที่พึงปฏิบัติและสำหรับในส่วนพระองค์นั้นก็ทรงประกอบพระราชกรณียกิจในการช่วยเหลือเกษตรชาวไทยมาโดยตลอดอยู่แล้ว อยู่ที่ว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐจะมีจิตสำนึกน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมเอาพระบรมราโชวาทที่ได้พระราชทานไว้นี้มาศึกษาและพยายามทำงานตามรอยพระยุคลบาทกันได้มากน้อยแค่ไหนเท่านั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตั้งพระราชหฤทัยว่าจะทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจเพื่อความผาสุกของราษฎรและความเจริญก้าวหน้าของประเทศ เพื่อเป็นกำลังส่งเสริมช่วยเหลือรัฐที่จะต้องให้บริการแก่ราษฎรและพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าแล้วก็ได้ทรงพิจารณาว่าจะทรงช่วยเหลือราษฎรและประเทศชาติได้อย่างไร ซึ่งผลจากากรที่ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรและได้ทอดพระเนตรภูมิประเทศไปพร้อมๆกันด้วยในทุกภูมิภาคที่เสด็จพระราชดำเนินไปถึงนั้นทำให้ทรงทราบดีว่า ประเทศไทยของเรานั้นเป็นประเทศที่ยากจน ราษฎรส่วนใหญ่ของประเทศที่อาศัยอยู่ในชนบทและพื้นที่ที่ห่างไกลคมนาคม ยังคงทำไร่ไถนาปลูกพืชผักไม้ผลเป็นอาชีพหลักอยู่ด้วยกันทั้งนั้น ความเจริญทางเทคโนโลยีนั้นคงมีและเติบโตเฉพาะเมื่อใหญ่ๆเพียงไม่กี่แห่งเท่านั้น และราษฎรที่เป็นเกษตรกรซึ่งกล่าวกันมาแต่โบราณว่าเป็นกระดูกสันหลังของชาตินั้น ก็ต้องอาศัยธรรมชาติในการประกอบอาชีพ ปีไหนฝนฟ้าดีผลผลิตที่ได้ก็อุดมสมบูรณ์สามารถเลี้ยงครอบครัวและเหลือพอที่จะนำไปจำหน่ายเป็นรายได้มาจุนเจือแก่ครอบครัวได้ แต่หากปีไหนเกิดฝนแล้งหรือฝนเกิดมีมากเกินไปจนเกิดอุทกภัย พืชผลทางการเกษตรที่ลงทุนลงแรงปลูกเอาไว้ก็จะได้รับความเสียหาย ราษฎรก็จะเกิดความเดือดร้อน บางคนถึงกับสิ้นเนื้อประดาตัวเกิดภาวะข้าวยากหมากแพงตามมา อาหารการกินก็จะมีไม่เพียงพอที่จะดูแลเลี้ยงครอบครัวให้ตลอดไปจนถึงปีหน้าได้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทราบถึงปัญหาและอุปสรรคที่เกษตรกรได้รับอย่างถ่องแท้โดยตลอดและอย่างละเอียดลึกซึ้ง ว่าน้ำเป็นปัจจัยอันสำคัญอย่างยิ่งต่อการประกอบอาชีพของเกษตรกร หากขาดน้ำเสียแล้วเกษตรกรย่อมประกอบอาชีพไม่ได้ ดังนั้นจึงต้องหาวิธีที่จะเก็บกักน้ำเอาไว้ให้ได้เพื่อจะไว้ใช้ในการทำการเกษตร ซึ่งการเก็บกักน้ำเอาไว้ใช้นั้นก็สามารถทำได้หลายวิธี ทั้งนี้ ก็ย่อมขึ้นอยู่กับภูมิประเทศในแต่ละแห่ง บางแห่งอาจขุดได้แค่เป็นบ่อ เป็นสระ บางแห่งอาจทำเป็นฝายน้ำล้นบางแห่งสามารถทำเป็นเขื่อนเก็บกักน้ำได้เป็นจำนวนมาก ส่วนจะสามารถทำเป็นเขื่อนขนาดใดนั้นก็ต้องขึ้นอยู่กับภูมิประเทศอีกเช่นกัน และที่จะให้ผลประโยชน์แก่เกษตรกรได้อย่างมากก็คือการสร้างเขื่อนสำหรับไว้เก็บกักน้ำในฤดูฝน แล้วนำน้ำที่กักเก็บไว้นี้ปล่อยให้เกษตรกรได้ใช้ทำเกษตรกรรมในฤดูแล้ง แต่การจะทำสิ่งใดนั้นย่อมมีทั้งผลดีและผลเสีย ดังพระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อวันที่ ๑๕ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๒๙ ตอนหนึ่ง ความว่า "...โครงการพัฒนาต่างๆตั้งขึ้นเพื่อปรับปรุงดัดแปลงสิ่งที่มีอยู่แล้ว คือ ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดผลเป็นประโยชน์แก่ประเทศและประชาชนส่วนรวมให้ได้มากที่สุด ในทางปฏิบัตินั้น นอกจากจะได้ผลส่วนใหญ่หรือส่วนรวมตามจุดประสงค์แล้ว บางทีก็อาจทำให้มีการเสียหายในบางส่วนได้บ้าง...ต้องพิจารณาจัดตั้งโดยรอบคอบและละเอียดถี่ถ้วน...มีผลดีผลเสียประการใด...จักได้วางแผนงานให้สอดคล้องต้องกันทุกส่วน...ให้โครงการได้ประโยชน์มากที่สุด..."เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๓๖ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำรัสแก่คณะบุคคลต่างๆที่พระราชทานพระบรมราชวโรกาศให้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายพระพรชัยมงคล ในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิตตอนหนึ่งว่า "...อีกข้อหนึ่งที่หนักใจกันมากก็คือเรื่องภัยแล้ง...ต้องแก้ไข...และแก้ไขมาตลอด มาเรื่อย...เคยพูดมาหลายในวิธีที่จะปฏิบัติที่จะให้มีทรัพยากรน้ำพอเพียงและเหมาะสม หมายความว่าให้มีพอในการบริโภค ในการใช้ ทั้งในด้านการใช้บริโภคในบ้าน ทั้งในการใช้เพื่อการเกษตรกรรม อุตสาหกรรม ต้องมีพอ ถ้าไม่มีพอทุกสิ่งทุกอย่างก็ชะงักลง... ไม่มีทางที่จะมีความเจริญถ้าไม่มีน้ำ...เพื่อแก้ไขปัญหานี้ ได้วางแผนเป็นเวลาหลายปีแล้ว ถ้าหากว่าได้ปฏิบัติตามแผนนั้นๆแล้ว วันนี้ก็ไม่ต้องพูดถึงการขาดแคลนน้ำ... โครงการที่คิดจะทำนี้ บอกได้ว่าไม่กล้าพูดมาหลายปีแล้ว เพราะเกรงว่าจะมีการคัดค้านจากทั้งผู้เชี่ยวชาญ ทั้งเหล่านักต่อต้านการทำโครงการ แต่โครงการนี้เป็นโครงการที่อยู่ในวิสัยที่จะทำได้...และถ้าไม่ทำ...เราก็จะต้องอดน้ำแน่ จะกลายเป็นทะเลทราย แล้วเราจะอพยพไปที่ไหนก็ไม่ได้ โครงการนี้คือการสร้างอ่างเก็บน้ำ ๒ แห่ง แห่งหนึ่งคือที่แม่น้ำป่าสัก อีกแห่งหนึ่งที่แม่น้ำนครนายก...มีคนบอกว่าโครงการพระราชดำริแตะต้องไม่ได้ ข้อนี้เป็นความคิดที่ผิด หรือเป็นความคิดที่ไม่ถูกต้องนัก เพราะหากโครงการพระราชดำริแตะต้องไม่ได้ เมืองไทยไม่เจริญ พระราชดำรินั้น ก็เป็นความคิดของพระราชา ถ้าความคิดของพระราชาแก้ไขไม่ได้ ก็หมายความว่าเมืองไทยมีความก้าวหน้าไม่ได้...ฉะนั้น ได้บอกกับทางฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเขื่อนใหม่ว่าอนุญาตให้รื้อโครงการพระราชดำริเดิมจะได้สบายใจกัน..."แนวพระราชดำริและทฤษฎีเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรน้ำให้เกิดประโยชน์แก่ราษฎรและประเทศของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีอยู่เป็นจำนวนมากและหลากหลายกันออกไปตามแต่ลักษณะของภูมิประเทศดังที่เคยได้กล่าวมาแล้วสำหรับโครงการตามนัยพระราชดำรัสที่ได้อัญเชิญมาตอนนี้ก็เป็นอีกโครงการหนึ่งที่เกิดจากน้ำพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงห่วงใยต่อปัญหาวิกฤตการณ์น้ำที่จะเกิดขึ้นแก่ประเทศไทยในอนาคต นั่นคือปัญหาน้ำท่วมกับปัญหาน้ำแล้ง ที่จะเกิดสลับกันไปมาอยู่ตลอดเวลา ซึ่งได้สร้างความสูญเสียอย่างมากมหาศาลแก่เกษตรกรและราษฎรทั่วไปอยู่เป็นประจำ พระองค์จึงได้มีพระวิริยะอุตสาหะหาทางหาวิธีที่จะป้องกันและผ่อนคลายบรรเทาความเดือดร้อนที่จะเกิดแก่ราษฎรให้ได้ จะเห็นได้ชัดว่ากระแสพระราชดำรัสที่พระราชทานออกมานันแฝงไว้ด้วยความห่วงใยอย่างยิ่งที่ว่า "และถ้าไม่ทำ...เราก็จะต้องอดน้ำแน่จะกลายเป็นทะเลทรายแล้วเราจะอพยพไปที่ไหนก็ไม่ได้..." เป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นพ้นแก่ราษฎรชาวไทยที่ได้เกิดมาบนผืนแผ่นดินไทยที่มีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นประมุขและทรงมีความห่วงใยราษฎรยิ่งกวาห่วงใยในพระองค์เองตลอดระยะเวลากว่า ๔๐ ปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ ได้ทรงใกล้ชิดกับราษฎรจนทรงทราบถึงปัญหาความเดือดร้อนของราษฎรอย่งแท้จริงว่าราษฎรสวนใหญ่ของประเทศที่ประกอบอาชีพทางเกษตรกรรมนั้นต้องการน้ำเป็นปัจจัยสำคัญทั้งในการเพาะปลูกและในการใช้อุปโภคบริโภคในชีวิตประจำวันด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งราษฎรที่อาศัยอยู่ในชนบทห่างไกลทุรกันดารนั้นจะขาดแคลนแม้กระทั่งน้ำกินน้ำใช้ในช่วงของฤดูแล้งเป็นประจำเกือบจะทุกทีไป ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ก่อให้เกิดปัญหาความยากจน ขาดความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ราษฎรมีคุณภาพชีวิตที่ไม่ดี เมื่อทรงประจักษ์ เช่นนี้จึงทรงเอาพระราชหฤทัยใส่ศึกษาค้นคว้าด้วยพระองค์เอง ทั้งจากเอกสารต่างๆที่หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาแหล่งน้ำนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายทรงศึกษาจาแผนที่ที่มีรายละเอียดต่างๆถึงพิกัดที่ตั้งของหมู่บ้านในท้องถิ่นชนบทห่างไกลที่แร้นแค้นแหล่งน้ำ หลังจากที่ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรสภาพภูมิประเทศจริงมาแล้ว ก็จะทรงกำหนดโครงการต่างๆอันเนื่องมาจากพระราฃดำริขึ้นบนแผนที่ก่อน จากนั้นจึงจะพระราชทานให้หน่วยงานที่รับผิดชอบรับไปพิจารณาดำเนินการให้เหมาะสมและถูกต้องในด้านวิชาการต่อไป เหตุนี้ จากผลการศึกษาโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่ในปัจจุบันมีมากกว่า ๒,๐๐๐ โครงการจึงเป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของการเก็บกักน้ำและการพัฒนาแหล่งน้ำถึง ๑ ใน ๓ ของโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริทั้งหมดทั้งนี้ ก็เพราะทรงเอาพระราชหฤทัยใส่ในเรื่องน้ำเป็นสำคัญ เนื่องจากน้ำคือชีวิตดังจะเห็นได้จากพระราชดำรัสที่พระราชทานในโอกาสที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นำคณะเอกอัครราชทูต และกงสุลใหญ่ไทยประจำภูมิภาคยุโรป แอฟริกา และตะวันออกกลาง พร้อมด้วยราชการชั้นผู้ใหญ่ของกระทรงการต่างประเทศ เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันที่ ๒๙ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๓๒ ตอนหนึ่งที่มีพระราชดำรัสถึงเรื่องนี้ความว่า "...ที่มีอยู่ในใจก็คือปัญหาความเป็นอยู่ของโลกและของประเทศไทย โดยเฉพาะในเรื่องทรัพยากรบางส่วน ซึ่งอาจทำให้ขาดแคลนและเป็นผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของพลโลกอย่างมาก คือการขาดแคลนน้ำที่จะใช้ได้อย่างดี เรื่องนี้ก็อยู่ในแนวเดียวกับสิ่งแวดล้อม ความหนักใจในสิ่งแวดล้อม แต่ว่าเรื่องน้ำนี้ก็เป็นปัจจัยหลักของมวลมนุษย์ ไม่ใช่มนุษย์เท่านั้นเอง แม้สิ่งที่มีชีวิตทั้งหลายทั้งสัตว์ทั้งพืชก็ต้องมีน้ำถ้าไม่มีก็อยู่ไม่ได้ เพราะว่าน้ำเป็นสื่อหรือเป็นปัจจัยสำคัญของการเป็นสิ่งมีชีวิต..." พระราชดำรัสองค์นี้แสดงออกให้เห็นถึงความห่วงใยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงมีต่อราษฎรชาวไทยและต่อมวลมนุษยชาติ จึงทรงพยายามทุกวิธีทางที่จะผ่อนคลายความเดือดร้อนปัญหาเรื่องการขาดแคลนน้ำให้แก่ราษฎรให้ได้ โครงการต่างๆอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาแหล่งำน้ำที่กระจายกันอยู่ทุก๓มิภาคนั้นได้มีส่วนช่วยให้ราษฎรได้มีน้ำกินน้ำใช้ในการดำรงชีพ และประกอบอาชีพเลี้ยงครอบครัวให้มีความสุขได้ เป็นผลให้ชีวิตของราษฎรได้รับการพัฒนาให้ได้มีการอยู่ดีกินดีมากขึ้นกว่าเดิมพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักดีถึงปัญหาการเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย โดยเฉพาะความสัมพันธ์กันระหว่าง ดิน น้ำ และป่าไม้ ที่ต่างกันย่อมมีความสัมพันธ์เอื้ออำนวยประโยชน์ต่อกันและกัน หากทรัพยากรอย่างหนึ่งอย่างใดถูกรบกวนก็ย่อมจะต้องส่งผลกระทบความสมดุลทงธรรมชาติให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อมีป่าก็จะมีน้ำ มีดินอันอุดมสมบูรณ์ มีอากาศชุ่มชื้น ซึ่งเป็นการเกื้อกูลต่อการดำรงอยู่ของสรรสิ่งที่มีชีวิตทั้งของคน สัตว์และ พืชพันธุ์ต่างๆกัน และเมื่อวันที่ ๑๔ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๒๐ เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรและทอดพระเนตรพื้นที่ที่ขาดแคลนน้ำในอำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี เพื่อที่จะทรงหาทางช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ราษฎรนั้น ได้มีพระราชดำรัสในเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยทรงกำชับว่า "...การที่จะมีต้นน้ำลำธารไปชั่วกาลนานนั้น สำคัญอยู่ที่การรักษาป่า และปลูกป่าบริเวณต้นน้ำ ซึ่งบนยอดเขาและเนินสูงนั้นต้องมีการปลูกป่าโดยปลูกไม้ยืนต้น แปลูกไม้ฟืน ซึ่งไม้ฟืนนั้นราษฎรสามารถตัดไปใช้ได้ แต่ต้องมีการปลูกทดแทนเป็นระยะ ส่วนไม้ยืนต้นนั้นจะช่วยให้อากาศมีความชุ่มชื้น เป็นขั้นตอนหนึ่งของระบบการให้ฝนตกแบบธรรมชาติ ทั้งยังช่วยยึดดินบนเขาไม่ให้พังทลายเมื่อเกิดฝนตกอีกด้วย ซึ่งถ้ารักษาสภาพป่าไม้ไว้ให้ดีแล้ว ท้องถิ่นก็จะมีน้ำไว้ใช้ชั่วกาลนาน ในป่าต้นน้ำลำธารที่ไม่มีคนบุกรุก อย่าให้คนเข้าไปตั้งหลักแหล่งใหม่ หากไม่มีคนดีก็ดีแล้วอย่างได้นำเข้ามาอีก...ในป่าต้นน้ำลำธารไม่ควรให้มีสิ่งปลูกสร้างอะไรทั้งสิ้น รักษาควบคุมให้ได้..."พระราชดำรัสที่พระราชทานแก่ราษฎรและเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องตลอดจนพระราชกรณียกิจที่ทรงปฏิบัตินั้น เป็นสิ่งที่ประจักษ์ชัดแก่บรรดาราษฎรชาวไทยทั้งประเทศและชาวโลกว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ปฏิบัติพระราชกรณียกิจที่จะช่วยให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎรในชนบท อันแสดงถึงน้ำพระราชหฤทัยที่จะทรงร่วมทุกข์ร่วมสุขกับราษฎรของพระองค์อย่างแท้จริง ทรงอุทิศทั้งกำลังพระวรกาย อุทิศกำลังความคิด และสละพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อที่จะทำให้ราษฎรได้สามารถดำรงชีวิต สามารถประกอบกิจการงาน ประกอบอาชีพเลี้ยงตนและครอบครัวได้พอมีพอกินตามอัตภาพของแต่ละคนแต่ละครอบครัว เป็นพระมหากรุณาธิคุณแก่ราษฎรชาวไทยอย่างหาที่สุดมิได้เมื่อวันที่ ๑๑ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๓๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำรัสในพิธีเปิดการประชุมวิชาการนานาชาติ "The Third Princess Chulabhorn Science Congress" เรื่อง "น้ำและการพัฒนา : น้ำเปรียบดังชีวิต" ณ โรงแรมแชงกรี-ลา ตอนหนึ่งความว่า"...การพัฒนาแหล่งน้ำนั้น ในหลักใหญ่ก็คือการควบคุมน้ำให้ได้ดังประสงค์ ทั้งปริมาณและคุณภาพ กล่าวคือ เมื่อมีปริมาณน้ำมากเกินไป ก็ต้องหาทางระบายออกให้ทันการณ์ ไม่ปล่อยให้เกิดความเดือดร้อนเสียหายได้ และในขณะที่เกิดภาวะขาดแคลน ก็จะต้องมีน้ำกักเก็บไว้ใช้อย่างเพียงพอ ทั้งมีคุณภาพเหมาะสมแก่การเกษตร การอุตสหกรรม และการอุปโภคบริโภค ปัญหาอยู่ที่ว่า การพัฒนาแหล่งน้ำนั้นอาจมีผลกระทบกระเทือนต่อสิ่งแวดล้อมบ้าง แต่ถ้าไม่มีการควบคุมน้ำที่ดีพอแล้ว เมื่อเกิดภัยธรรมชาติขึ้นก็จะก่อให้เกิดความเดือดร้อนสูญเสียทั้งในด้านเศรษฐกิจและในชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนทั้งส่งผลกระทบกระเทือนแก่สิ่งแวดล้อมอย่างร้ายแรง...นอกจากความสูญเสียที่เป็นผลโดยตรงแล้ว ยังเกิดภาวะน้ำเน่าขังอยู่ทั่วไป อันเป็นผลกระทบทบอ้อมอีกด้วย ดังนั้น เมื่อคำนึงถึงประโยชน์อันยั่งยืนและความเสียหายจากภัยธรรมชาติ การพัฒนาแหล่งน้ำจึงเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็น หวังว่าผลจากการประชุมครั้งนี้ จะได้ความรู้และข้อคิดใหม่ๆที่จะนำปไปปรับใช้ในการพัฒนาแหล่งน้ำ ให้บังเกิดผลเป็นประโยชน์อันยั่งยืนแก่มนุษยชาติต่อไป..."พระราชดำรัสองค์นี้แสดงออกให้เห็นว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระปรีชาสามารถและมีแนวพระราชดำริในเรื่องการจัดการทรัพยากรน้ำอย่างเข้าพระราชหฤทัยอย่างยิ่ง เพราะกระแสพระราชดำรัสที่ได้พระราชทานไปนั้นล้วนแต่ได้ทรงปฏิบัติมาแล้วทั้งสิ้นในทุกขั้นตอนทรงเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องของการจัดการทรัพยากรน้ำอย่างแท้จริง ยากที่จะหาผู้ใดมาเทียบเคียงได้ อันเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปในบรรดาผู้เชี่ยวชาญทั้งหลายในเรื่องการจัดทรัพยากรน้ำ ดังนั้น ในมหามงคลสมัยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี ในพุทธศักราช ๒๕๓๙ รัฐบาลจึงได้จัดทำพญานาคทองคำเจ็ดเศียรขึ้นทูลเกล้ากระทูลกระหม่อมถวายโดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้เข้าเฝ้าทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายพญานาคทองคำเจ็ดเศียรนี้ เมื่อวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๓๙ ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต และในโอกาส นั้นนายกรัฐมนตรีในสมัยนั้นได้กราบบังคมทูลพระกรุณาประกาศพระเกียรติคุณ ที่มีพระมหากรุณาทรงพระราชอุตสาหะปฏิบัติพระราชกรณียกิจเรื่องการจัดการทรัพยากรน้ำ เพื่อให้ราษฎรได้มีน้ำอุปโภคบริโภคและใช้ในการเพาะปลูกทำเกษตรกรรม และได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตในนามของรัฐบาลและประชาชนชาวไทยทั้งปวงน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายพระราชสมัญญาแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า "พระบิดาแห่งการจัดการทรัพยากรน้ำ"จากการที่จะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปทางเยี่ยมราษฎรในชนบทห่างไกลทุกภูมิภาคเป็นประจำนั้น ทำให้ทรงทราบว่าการที่จะเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของราษฎรส่วนใหญ่ของประเทศที่ยึดเอาการทำการเกษตรเป็นอาชีพหลักเลี้ยงตนเองและครอบครัวให้หันไปประกอบอาชีพอย่างอื่นแทนนั้น ออกจะเป็นเรื่องยาก ดังนั้น วิธีที่ดีที่สุดก็คือจะทำอย่างไนให้ราษฎรที่เป็นเกษตรกรได้มีพื้นบ้านที่มั่นคงถาวรต่อการประกอบอาชีพของตนให้ยั่งยืนตลอดไป อย่างที่มีพระราชดำรัสเสมอๆว่า อย่างน้อยที่สุดราษฎรต้องพอมีพอกินพอใช้ สามารถที่จะถึงตนเองให้ได้เสียก่อนเป็นประการแรก จากนั้นจึงค่อยส่งเสริมให้มีความเจริญก้าวหน้าในระดับที่สูงขึ้นไปได้ เพราะหากพื้นฐานไม่ดีพอตั้งแต่เริมแรกเสียแล้ว โอกาสที่จะส่งเสริมให้เจริญก้าวหน้าในการประกอบอาชีพในระดับที่สูงขึ้นไปย่อมทำได้ยาก หรือไม่อาจจะทำได้เลย ดังนั้น จึงต้องมีขั้นตอนในการพัฒนา ซึ่งในเรื่องดังกล่าวนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระบรมราโชวาทได้อย่างชัดเจนในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๑๗ ความตอนหนึ่งว่า "...การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขึ้น ตอนสร้างพื้นฐาน คือความพอมีพอกิน พอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและใช้อุปกรณ์ที่ประหยัด แต่ถูกต้องตามหลักวิชา เมื่อได้พื้นฐานมั่นคงพร้อมพอควรและปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญและฐานะเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป หากมุ่งแต่จะทุ่มเทสร้างความเจริญ ยกเศรษฐกิจขึ้นให้รวดเร็วแต่ประการเดียว โดยไม่ให้แผนปฏิบัติการสัมพันธ์กับสภาวะของประเทศและของประชาชนโดยสอดคล้องด้วย ก็จะเกิดความไม่สมดุลในเรื่องต่างๆขึ้น ซึ่งอาจกลายเป็นความยุ่งยากล้มเหลวได้ในที่สุดังเห็นได้ ที่อารยประเทศหลายประเทศกำลังประสบปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงในเวลานี้..." กับความอีกตอนหนึ่งจากพระบรมราโชวาทที่ ราชทานในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อวันที่ ๑๙ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๑๗ ว่า "...การช่วยเหลือสนับสนุนประชาชนในการประกอบอาชีพและตั้งตัว ให้มีความพอกินพอใช้ก่อนอื่นเป็นพื้นฐานนั้น เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งยวด เพราะผู้ที่มีอาชีพและฐานะเพียงพอที่จะพึ่งตนเอง ย่อมสามารถสร้างความเจริญก้าวหน้าระดับสูงขึ้นไปต่อไปได้โดยแน่นอน ส่วนการถือหลักที่จะส่งเสริมความเจริญให้ค่อยเป็นค่อยไปตามลำดับ ด้วยความรอบคอบระมัดระวังและประหยัดนั้น ก็เพื่อป้องกันความผิดพลาดล้มเหลว และเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จได้แน่นอนบริบูรณ์ เพราะหากไม่กระทำด้วยความระมัดระวัง ย่อมจะหวังผลเต็มเม็ดเต็มหน่วยได้โดยยาก..."พระราชทานดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเรื่องพอมีพอกินใช้ตามอัตตาภาพแห่งตนนั้นได้พระราชทานมานานแล้ว ถ้านับว่าพระราชทานเมื่อพุทธศักราช ๒๕๑๗ ถึงปัจจุบันก็เป็นระยะเวลาเกือบ ๓๐ ปีเข้าไปแล้วมิใช่เพิ่งจะมาพระราชทานเมื่อเกิดเหตุวิกฤตการณ์เศรษฐกิจในประเทศไทยถดถอย หรือที่เรียกกันว่าฟองสบู่แตกเมื่อพุทธศักราช ๒๕๓๘ นี้ ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น คำตอบก็คือว่า เพราะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเข้าพระราชหฤทัยในชีวิตความเป็นอยู่ ตลอดจนสภาพภูมิประเทศและสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยของเราเป็นอย่างดีและอย่างลึกซึ้งอย่างที่ไม่มีนักวิชาการคนใดมองถึงสภาพข้อเท็จจริงอย่างที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทอดพระเนตรเห็น ดังนั้น จึงได้ทรงเพียรย้ำที่จะพระราชทานพระบรมราโชวาทก็ดี กระแสพระราชดำรัสก็ดี ในเรื่องให้ราษฎรได้ทำมาหากินให้พอกินพอใช้ในครับเรื่อนของตนเสียก่อน เหลือจากกินใช้แล้ว จึงค่อยนำไปจำหน่าย เหตุนี้จึงมีเกษตรกรอีกเป็นจำนวนไม่น้อยที่ไม่ได้เดือดร้อนต่อวิกฤตการณ์เศรษฐกิจฟองสบู่ในประเทศไทยแตก คือไม่มีผลกระทบต่อเกษตรกรเหล่านั้น เนื่องเพราะได้ทำเกษตรกรรมแบบพอมีพอกินพอใช้ตามพระราชดำรัสและพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาเป็นเวลานานนับเป็นสิบปีแล้วนั่นเอง เกษตรกรบรรดานี้จึงมีความเป็นอยู่อย่างสบาย ซึ่งตรงกันข้ามกับบรรดาที่คิดว่าประเทศไทยจะต้องเป็นประเทศอุตสาหกรรม จึงดำเนินการประกอบการในเชิงอุตสาหกรรมเต็มรูปแบบ ซึ่งเมื่อฟองสบู่แตกจึงถึงซึ่งความสิ้นเนื้อประดาตัวตามๆกันสิ่งหนึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นห่วงและทรงหาวิธีการแก้ไขอยู่ก็คือเรื่องการพัฒนาชนบทให้เจริญก้าวหน้า เพราะทรงทราบดีว่ามีข้อจำกัดและมีอุปสรรคในด้านต่างๆมาก ทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม ด้านการเปลี่ยนแปลงทัศนคติของราษฎรในท้องถิ่นที่สำคัญคือชาวชนบทขาดความรู้ความสามารถและสิ่งจำเป็นขั้นพื้นฐานในการดำรงชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่เกษตรกรขาดความรู้ในเรื่องการประกอบอาชีพเกษตรกรรมอย่างมีหลักวิชา รวมทั้งอุปสรรคปัญหาอื่นๆ เช่นขาดที่ดินทำกินเป็นของตนเอง ขาดแคลนแหล่งน้ำที่จะใช้ทำการเกษตรและใช้อุปโภคบริโภคเป็นต้น แต่ด้วยพระราชหฤทัยที่มุ่งมั่นในการช่วยเหลือราษฎรให้พ้นหรือบรรเทาจากความเดือดร้อน ดังนั้น แนวพระราชดำริที่จะช่วยพัฒนาชนบทจึงออกมาในรูปของโครงการต่างๆ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งมีลักษณะแต่ละโครงการแตกต่างกันออกไปตามปัญหาและสภาพภูมิประเทศในแต่ละแห่ง แต่มีจุดประสงค์เดียวกัน คือ การพัฒนาบทเพื่อให้ราษฎรในชนบทได้มีความเป็นอยู่ตลอดจนสามารถประกอบอาชีพเลี้ยงครอบครัวให้ดีขึ้น แนวพระราชดำริที่สำคัญในเรื่องการพัฒนาชนบท คือมีพระราชประสงค์ที่จะมุ่งช่วยให้ชาวชนบทนั่นเองได้สามารถช่วยเหลือพึ่งตนเองได้ จะสังเกตเห็นได้ว่าโครงการต่างๆ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่ขยายตัวครอบคลุมพื้นที่ส่วนต่างๆของประเทศนั้น จุดมุ่งหมายสำคัญประการสุดท้ายก็คือทำให้ชาวชนบทสามารถพึ่งพาตนเองได้ทั้งสิ้น ได้ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจด้านนี้โดยการสร้างพื้นฐานหลักที่จำเป็นต่อการผลิตให้แก่ราษฎรเหล่านั้น อันจะเป็นรากฐานที่จะนำพาไปสู่การพึ่งตนเองได้ในที่สุด ในเวลาเดียวกันก็ทรงส่งเสริมให้ชาวชนบทได้มีความรู้ในเรื่องของการประกอบอาชีพอย่างถูกวิธี โดยเผยแพร่ความรู้นั้นแก่ชาวชนบทอย่างค่อยเป็นค่อยไปในลักษณะที่เป็นระบบอย่างต่อเนื่อง และให้สอดคล้องแก่ความจำเป็นของแต่ละท้องถิ่น ซึ่งเรื่องการพัฒนาชนบทนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะต้องอาศัยเครื่องไม้เครื่องมือหลายชนิด ดังพระบรมราโชวาทที่พระราชทานแก่คณะผู้บริหารงานเร่งรัดพัฒนาชนบท ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ ๑๓ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๑๒ ความตอนหนึ่งว่า "...ปัญหาสำคัญที่สุดในการพัฒนาชนบทก็คือเรื่องเครื่องมือ เครื่องมือจำนวนมหาศาลนี้ต้องใช้ให้ถูกต้อง ทั้งเครื่องมือทุ่นแรงทั้งวิธีการที่ก้าวหน้า ถ้านำไปใช้ถูกหลักถูกต้องตามกฎเกณฑ์และหลักของมนุษยธรรมของเมตตา ก็ไม่เป็นไร แต่บางที่เพราะงานเร่งรัดพัฒนานี้เป็นงานที่เรียกว่า "แหวกแนว" และใหม่ กฎเกณฑ์ต่างๆ จึงไม่ชัด อาจไม่รู้ว่าจะใช้กฎเกณฑ์ที่ไหน แล้วก็ผิดพลาดไป การทำผิดพลาดกฎเกณฑ์หรือข้อบังคับด้วยเจตนาดีนั้นไม่ว่า แต่บางที่มีคนที่อ้างว่าเพราะโง่เขลาเบาปัญญาจึงทำผิดกฎเกณฑ์ไปนั้น ถ้าทำให้เสียหายต่อส่วนรวมก็ลำบากหน่อย เพราะว่าผู้ที่ปฏิบัติตามโครงการตามแผนของเร่งรัดพัฒนานั้น ก็นับว่าเป็นท่านที่มีความรู้ มีความเชี่ยวชาญ ไม่ควรจะโง่เขลาเบาปัญญาถึงปานนั้น..." และ อีกตอนหนึ่งความว่า "การพัฒนาชนบทเป็นเรื่องที่สำคัญ...ผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานนี้ จึงสมควรได้มาสัมมนาปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด...เพื่อให้ทราบวาควรจะทำอย่างไรปัญหาในการพัฒนาชนบทนี้ต้องนึกว่าทำทำไม ทำอย่างไร และทำที่ไหน เมื่อไร...ทำเมื่อไรนั้นตอบได้ง่ายที่สุด เพราะว่าเป็นการเร่งรัดพัฒนา จึงต้องบอกว่าทำเดี๋ยวนี้ทำที่ไหน ก็อยู่ในชื่อของการพัฒนาชนบทแล้ว ทำตามชนบท...เพราะว่าการที่นำความเจริญการพัฒนาไปสู่ชนบทหมายถึงไปสู่ประชาชนในชนบทน้น มีเหตุผลหลายประการ เหตุผลใหญ่ที่สุดข้อแรกก็คือมนุษยธรรม ความเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์ที่อยู่ร่วมประเทศกับเรา ซึ่งถ้าพูดถึงทางหนึ่งก็เป็นเพื่อนร่วมชาติ ถ้าพูดอีกทางหนึ่งก็เป็นผู้ที่เรารู้ว่าอยู่ในความแร้งแค้น...การพัฒนาชนบทเป็นงานที่สำคัญ เป็นงานที่ยาก เป็นงานที่จะต้องทำให้ด้วยความสามารถ ด้วยความเฉลียวฉลาด...ต้องทำด้วยความบริสุทธิ์ใจ มิใช่มุ่งที่จะหากินด้วยวิธีการใดๆใครอยากหากินขอให้ลาออกจากตำแหน่งไปทำการค้าดีกว่า เพราะว่าถ้าทำผิดพลาดไปแล้วบ้านเมืองเราล่มจม และเมื่อบ้านเมืองของเราล่มจมแล้ว เราอยู่ไม่ได้ ก็เท่ากับเสียหมดทุกอย่าง..."พระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่พระราชทานในโอกาสต่างๆ นั้นล้วนแต่มีความหมายลึกซึ้งทุกองค์ อย่างเช่นที่อัญเชิญมาไว้ข้างต้นนั้นก็เป็นพระราชดำรัสที่ทรงเตือนสติและกระตุ้นให้เจ้าหน้าที่บ้านเมืองผู้มีหน้าที่ที่จะต้องคอยดูแลทุกข์สุขของประชาชนได้ปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ถูกต้อง ให้ถูกหลักถูกเกณฑ์ หรือถ้าเราจะพูดอย่างภาษาชาวบ้านก็คืออย่าทำตัวเป็นคนฉ้อราษฎร์บังหลวงนั่นเอง พระองค์มีพระราชประสงค์ที่จะให้ข้าราชการได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ดังพระบรมราโชวาทอีกองค์หนึ่งที่จะอัญเชิญมาไว้ ณ ที่นี้ พระบรมราโชวาทองค์นี้พระราชทานในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตผู้สำเร็จการศึกษาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ ๗ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๙๘ ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีความตอนหนึ่งว่า "...ท่านทั้งหลายที่สำเร็จการศึกษาแล้วนี้ จะต้องไปรับราชการ หรือประกอบอาชีพ ส่วนตัว อย่างไรก็ดี ท่านจะได้ใช้แต่เพียงความรู้ที่ท่านได้ไปนี้อย่างเดียวเป็นเครื่องสำหรับประกอบการงานเท่านั้นหาพอไม่ เมื่อปีที่แล้วมา...ได้เตือนผู้สำเร็จการศึกษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของปวงชนชาวไทยนั้น มีพระราชอุปนิสัยใฝ่หาความรู้อยู่ตลอดเวลา จะทรงหาทางที่จะนำเอาวิทยาการสมัยใหม่ เทคโนโลยีอันทันสมัยที่มาจากต่างประเทศมาทรงประยุกต์ใช้ ให้สามารถเข้ากันได้ดีกับเทคโนโลยีพื้นบ้าน หรือที่เราเรียกกันว่าภูมิปัญญาชาวบ้านซึ่งภูมิปัญญาชาวบ้านนี้เองในบางครั้งก็เป็นวิธีการที่มีคุณค่าและดีกว่าเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่เข้ามาจากต่างประเทศเสียอีก เพราะเทคโนโลยีพื้นบ้านที่มาจากภูมิปัญญาชาวบ้านนั้น เป็นเทคโนโลยีแบบดั้งเดิมที่อาศัยธรรมชาติและอยู่กับธรรมชาติ และดังได้กล่าวไว้แล้วว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดการศึกษาค้นคว้าทดลองหาความรู้อยู่ตลอดเวลา เพื่อที่ว่าจะได้ทรงนำความรู้ที่ทรงค้นพบใหม่นั้นไปใช้ประโยชน์ในการบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่ราษฎรตัวอย่างเช่น เมื่อต้นปีพุทธศักราช ๒๕๒๐ ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรบริเวณแปลงเพาะชำต้นซิงโคน่า ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขนำไปปลูกทดลองเพื่อใช้เปลือกไปสกัดเป็นตัวยาควินินสำหรับใช้ป้องกันไข้มาลาเรีย ณ บริเวณโครงการที่ตั้งอยู่ที่ตำบลเมืองงาย อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ครั้งนั้นทรงพอพระราชหฤทัยมากที่ได้มีการจัดสร้างหลุก แล้วยังไม่ก่อให้เกิดมลภาวะสิ่งแวดล้อมอีกด้วย และจากหลุกที่เป็นเทคโนโลยีภูมิปัญญาชาวบ้านนี้เอง ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เกิดมีแนวพระราชดำริว่าน่าจะนำรูปแบบของหลุกไปประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์อย่างอื่นต่อไปได้อีก ซึ่งต่อมาก็ทรงนำลักษณะของหลุกมาทรงออกแบบและประดิษฐ์เป็นเครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอยได้สำเร็จ และโปรดใช้ชื่อว่า "กังหันน้ำชัยพัฒนา"อันเป็นผลงานสิ่งประดิษฐ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ต่อมากรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ รับจดทะเบียนสิทธิบัตรเลขที่ ๓๑๒๗ ในพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นับเป็นสิ่งประดิษฐ์เครื่องกลเติมอากาศเครื่องที่ ๙ ของโลกที่ได้รับสิทธิบัตรกังหันน้ำชัยพัฒนา มีส่วนสำคัญในขบวนการพัฒนาประเทศ เพราะเป็นเครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำที่มีประสิทธิภาพในการลดความสกปรกของน้ำสูง แต่ใช้ต้นทุนในการผลิตต่ำ ซึ่งเป็นตัวอย่างหนึ่งของความสนพระราชหฤทัยใฝ่หาความรู้ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๐๔ ได้พระราชทานพระบรมราโชวาทในเรื่องของการศึกษาหาความรู้ไว้ตอนหนึ่งว่า "...การศึกษาเล่าเรียนเป็นเรื่องที่ไม่มีสิ้นสุด ผู้ปรารถนาความเจริญในการประกอบกิจการงาน จะต้องหมั่นเอาใจใส่แสวงหาความรู้ให้เพิ่มพูนอยู่เสมอ...อีกประการหนึ่งความเจริญของบ้านเมืองนั้นใช่ว่าจะราบรื่นตลอดไป โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิที่สามารถปราดเปรื่องแต่เท่านั้นก็หาไม่ ต้องอาศัยสามัคคีกลมเกลียวเป็นน้ำหนึ่งใจเดียว ร่วมกันคิดอ่านแก้ไขปัญหาและอุปสรรคต่างๆให้ลุล่วงไปด้วยดีอีกทางหนึ่ง จึงจะเกิดประโยชน์โดยสมบูรณ์แก่ประเทศชาติ ทั้ง๒ ประการนี้บุคคลส่วนมากทราบกันดี แต่ไม่ค่อยจะนำไปปฏิบัติกัน ในโอกาสนี้จึงขอฝากไว้ให้ท่านทั้งหลายเพื่อนำไปใช้ด้วย..."พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชอุตสาหะบำเพ็ญพระราชกรณียกิจด้านต่างๆ เพื่อให้ราษฎรสามารถประกอบสัมมาอาชีวะดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุขตามสถานภาพแห่งตนแล้ว พระราชกรณียกิจที่ทรงปฏิบัติไปนั้นยังเพื่อความเจริญก้าวหน้าของประเทศเป็นสำคัญอีกประการหนึ่งด้วยและพระราชดำริเกี่ยวกับความเจริญนั้นปรากฏอยู่ในพระบรมราโชวาทที่พระราชทานในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรและอนุปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยศิลปากร ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยศิลปากร เมื่อวันที่ ๑๒ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๒๐ ตอนหนึ่งว่า "...ความเจริญนั้นมักจำแนกกันเป็นสองอย่าง คือความเจริญทางวัตถุอย่างหนึ่ง และความเจริญทางจิตใจอีกอย่างหนึ่ง ยิ่งกว่านั้น ยังเห็นกันว่าความเจริญอย่างแรกอาศัยวิชาการทางด้านวิทยาศาสตร์เป็นปัจจัยสร้างสรรค์ ส่วนความเจริญอย่างหลังอาศัยศิลปะ ศีลธรรมจรรยาเป็นปัจจัย แท้จริงแล้ว ความเจริญทางวัตถุกับความเจริญทางจิตใจก็ดี หรือความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์กับทางด้านศิลปะศีลธรรมจรรยาก็ดี มิใช่สิ่งที่จะแยกออกจากกันให้เด็ดขาดได้ ทั้งนี้เพราะสิ่งที่เราพยายามจะแยกออกจากกันนั้น มีมูลฐานที่เกิดอันเดียวคือ "ความจริงแท้" ซึ่งเป็นวิทยาศาสตร์ ถึงจะพยายามแยกจากกันอย่างไร ๆ ที่สุดก็จะรวมลงสู่กำเนิดจุดเดียวกัน แม้แต่จุดประสงค์ก็จะลงสู่จุดเดียวกัน คือความสุข ความพอใจของทุกคน ดังนั้น ท่านทั้งปวงที่กำลังจะนำวิชาการออกไปสร้างความเจริญแก่ตนแก่ชาติ ควรจะได้ทราบตระหนักในข้อนี้ และควรจะถือว่าความเจริญทั้งสองฝ่ายนี้มีความสำคัญอยู่ด้วยกัน เป็นสิ่งที่เกี่ยวเกาะเกื้อหนุนและอาศัยกัน จำเป็นที่จะต้องพิจารณาพร้อมกันไป ปฏิบัติพร้อมกันไป ความเจริญมั่งคงแท้จริงจะเกิดขึ้นได้ตามความมุ่งประสงค์..." จากพระบรมราโชวาทแสดงให้เห็นว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงห่วงบ้านเมืองในเรื่องของการพัฒนาให้ไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง เพราะทรงตระหนักดีว่าการกระทำสิ่งใดก็ตาม หากหนักไปในทางใดทางหนึ่งแล้วก็ย่อมต้องมีโทษด้วย มิใช่จะเกิดประโยชน์แต่ฝ่ายเดียว แต่ถ้าจะนำทางสายกลางมาปฏิบัติ ดังที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ ก็จะเกิดประโยชน์สูงสุด เหตุนี้พระองค์จึงได้ทรงเน้นให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่า การจะนำพาประเทศชาติไปให้ถึงซึ่งความเจริญอย่างแท้จริงนั้น ควรจะต้องประพฤติปฏิบัติอย่างไร ซึ่งในส่วนพระองค์ที่ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่นานัปการนั้นก็ทรงยึดแนวทางสายกลางมาโดยตลอดเช่นกัน พระราชกรณียกิจใดที่จะไปสร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่น พระราชกรณียกิจนั้นจะไม่เกิดขึ้นเป็นอันขาด ได้ทรงปฏิบัติให้เกิดความเจริญทางด้านจิตใจ ก่อนที่จะนำไปสู่การปฏิบัติให้เกิดความเจริญทางวัตถุ พระราชกรณียกิจทั้งหลายที่ทรงปฏิบัติจึงเป็นพระราชกรณียกิจที่มีแต่พระมหากรุณา ไม่เคยทำให้ผู้ใดต้องได้รับความเดือดร้อนจากการประกอบพระราชกรณียกิจของพระองค์ เป็นบุญของราษฎรไทยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงปฏิบัติพระองคอยู่ในทศพธราชธรรม ก่อให้เกิดความสงบร่มเย็นแผ่ไปทั่วราชอาณาจักรในประเทศไทยนั้น ไม่วาจะเป็นภูมิประเทศส่วนไหนของประเทศ ไม่ว่าดินแดดแห่งนั้นจะทุรกันดารเพียงใด จะยากลำบากแค่ไหน ล้วนแล้วแต่เป็นสถานที่ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระคุณอันประเสริฐของปวงประชาชาวไทย ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรไปทรงเยี่ยมราษฎร มาแล้วทั้งนั้น ทรงบุกป่าฝ่าดง ทรงพระดำเนินขึ้นเขาลงห้วย ก็ล้วนแล้วแต่ทรงปฏิบัติมาแล้วทั้งสิ้นเช่นกัน เหตุที่ทรงปฏิบัติพระองค์ได้เช่นนี้โดยไม่มีผู้หนึ่งผู้ใดบังคับ หรือไม่มีกฎหมายฉบับใดตราไว้ว่าจะต้องทรงปฏิบัติเช่นนั้น หากแต่ทรงเต็มพระราชหฤทัยที่จะทรงประพฤติปฏิบัติเช่นนั้นด้วยพระองค์เอง ทั้งนี้ ก็ด้วยเหตุที่ทรงรักทรงห่วงใยราษฎร มีพระมหากรุณาต่อราษฎรที่อยู่ในชนบทห่างไกลจากการสาธารณสุข จึงได้ทรงสละความสุขส่วนพระองค์ทรงพระราชอุตสาหะเสด็จพระราชดำเนินไปในทุกที่ที่ทรงทราบว่าราษฎรกำลังเดือดร้อน เพื่อที่จะได้หาหนทางขจัดหรือบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ราษฎร หากยังไม่สามารถที่จะแก้ไขปัญหาในขณะนั้นได้ ก็จะทรงรวบรวมข้อมูลไว้ และทรงหาวิธีการที่เหมาะสมสำหรับการพระราชทานพระราชดำริให้ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในแต่ละส่วนราชการได้รับไปดำเนินงานเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของราษฎร หรือหากสามารถขจัดปัญหาและอุปสรรคให้หมดไปได้ก็จิ่งก่อให้เกิดผลดีแก่ราษฎรมากยิ่งขึ้น การปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ อย่างไม่ย่อท้อ และไม่เห็นแก่ความเหนื่อยยากที่พระองค์จะต้องทรงได้รับขณะปฏิบัติพระราชกรณียกิจนั้นๆนอกจากนั้น ยังมีรับสั่งให้กำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติชอบอยู่เสมอๆ มิให้เกิดความย่อท้อต่อความยากลำบาก ดังพระราชดำรัสที่พระราชทานในโอกาสขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช ๒๔๙๗ ความว่า "...ประเทศชาติของเราจะเจริญวัฒนาและสามารถฟันฝ่าอุปสรรคซึ่งอาจมีมาข้างหน้าต่อไปได้ดี ก็ด้วยอาศัยที่ท่านทั้งหลายต้องร่วมใจกันและต่างตั้งหน้าบำเพ็ญความดี มุ่งประโยชน์ของส่วนรวมเป็นประการสำคัญ บางท่านอาจท้วงว่า ทำดีมิได้อะไร บางคนที่ไม่ทำความดี กลับได้ความสบายก็มี ข้อนี้ถ้าดูแต่เพียงผิวเผิน การอาจเป็นจริงดั่งว่า แต่พึงเชื่อได้ละหรือว่าผู้ที่ทำความไม่ดีนั้นมีความสุขสบายจริง อย่างน้อยในเบื้องลึกแห่งหัวใจของเขาอาจไม่มีสุขเลย หากมีทุกข์อยู่ก็ได้และสุขที่เราเห็นว่าเขามีอยู่นั่นก็เพียงชั่วแล่นเท่านั้น พระพุทธเจ้าก็ตรัสไว้ว่า บุคคลใดประกอบความดี คุณความดีนั้นย่อมต้องตอบสนอง...จึงขอชักชวนแต่ละท่าน ให้พยายามบำเพ็ญความดีด้วยน้ำใจอันบริสุทธิ์ แม้บางโอกาสอาจจะต้องเสียสละบ้าง ก็จงมานะอย่างท้อถอย จงสมัครสมานสามัคคีร่วมใจกันให้มั่งคงด้วยดี ทั้งนี้เพื่อความสุขสวัสดีของท่าน และเพื่อความวัฒนาถาวรของประเทศชาติอันเป็นที่รักของเราทั้งหลาย..."พระราชดำรัสที่พระราชทานไว้องค์นี้นับถึงปัจจุบันก็เป็นเวลาถึง ๔๖ ปีแล้วแต่ก็เป็นพระราชดำรัสที่ยังคงทันสมัยที่เข้ากันกับเหตุการณ์ในทุกวันี้ได้เป็นอย่างดีหากบุคคลใดนำความในพระราชดำรัสไปไตร่ตรองและคิดให้ลึกซึ้งก็จะพบว่าเป็นพระราชดำรัสที่ทรงนำคำสอนที่เป็นสัจธรรมมาให้กำลังใจแก่บรรดาผู้ที่กำลังตกอยู่ในสภาพการณ์ที่ไม่ดี จะได้เกิดสติ มีความคิด จักได้ใช้ปัญญาแห่งตนเข้าแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในชีวิตของตนให้หลุดพ้นไปได้ โดยที่ใจไม่ต้องกังวลที่จะต้องนำตนไปเปรียบเทียบกับคนที่ไม่ดี แต่จงทำดีเพื่อส่วนรวมและตนเอง จึงจะถึงซึ่งความสุขที่แท้จริง มิใช่ความสุขจอมปลอมที่ได้มาโดยการกระทำความชั่วพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจอย่างสม่ำเสมอตลอดมานานนับแต่เสด็จสถิตอยู่ในสิริราชสมบัติ เพื่อยังให้ราษฎรเกิดความผาสุกเป็นที่ตั้ง ราษฎรถิ่นใดพื้นที่ใดไม่มีที่ทำกินก็ทรงพยายามที่จะหาวิธีการจัดสรรที่ดินทำกินให้ราษฎรถิ่นใดเดือดร้อนด้วยภัยธรรมชาติต่างๆ ก็หาทางวิธีบรรเทาความเดือดร้อนให้ ราษฎรถิ่นใดขาดแคลนน้ำกินน้ำใช้ก็ทรงพยายามหาทางให้มีน้ำกินน้ำใช้ ยามบ้านเมืองเกิดวิกฤตการณ์ เกิดความไม่สงบเรียบร้อยด้วยความคิดเห็นไม่ตรงกัน ก็ทรงหาวิธีการประนีประนอมอย่างนุ่มนวลให้หันหน้าเข้าหากัน ไม่ให้เกิดความเดือดร้อนวุ่นวายเกิดเหตุลุกลามใหญ่โตต่อไป ถิ่นใดที่เป็นท้องที่ทุรกันดารห่างไกลก็ทรงพระราชอุตสาหะเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมจนถึงที่ พระบรมฉายาลักษณ์ที่ราษฎรเห็นจนคุ้นตาเมื่อเวลาเสด็จพระราชดำเนินไปทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจก็คือ จะมีอุปกรณ์ในการปฏิบัติพระราชกรณียกิจติดพระองค์อยู่เสมอ คือกล้องถ่ายรูป แผนที่ แผ่นใหญ่ ดินสอชนิดมียางลบ เครื่องวิทยุมือถือ และอีกอย่างหนึ่งที่เห็นอยู่เสมอเช่นกัน คือพระเสโทที่ไหลอาบพระพักตร์ อันเป็นการแสดงให้เห็นถึงพระวิริยะอุตสาหะตรากตรำพระวรการเสด็จพระราชดำเนินไปในทุกสภาพพื้นที่ทั่วทุกภาคของประเทศทรงรู้จักราษฎรของพระองค์เป็นอย่างดี ทรงทราบถึงปัญหาและอุปสรรคของราษฎรในแต่ละพื้นที่ ดังนั้น แนวทางในการแก้ปัญหาของแต่ละแห่งเพื่อขจัดหรือบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ราษฎรถึงแตกต่างกันออกไป แนวพระราชดำริที่พระราชให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการช่วยเหลือราษฎร จึงเป็นแนวพระราชดำริที่มีพระบรมราชวินิจฉัยแล้วว่าน่าจะเหมาะสมแก่พื้นที่ในแต่ละแห่ง ถึงกระนั้น ก็มิได้ทรงปิดกั้นความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง จะทรงเปิดพระราชหฤทัยรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคน ด้วยเหตุนี้เอง โครงการต่างๆอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จึงเป็นโครงการที่เกิดจากการรวมพลังความคิดทุกฝ่าย เป็นผลให้โครงการที่ตกลงกันว่าจะทำเป็นโครงการที่สามารถสนองตอบความต้องการของชุมชนนั้นๆได้ดี ซึ่งจะทรงเน้นในเรื่องการประหยัดและให้เกิดประโยชน์สูงสุดเป็นประการสำคัญ ดังได้กล่าวแล้วว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจเพื่อความอยู่ดีกินดีของราษฎรด้วยความเต็มพระราชหฤทัยอย่างไม่ทรงเห็นแก่ความเหนื่อยยาก กล่าวได้ว่าที่ใดเดือดร้อน ณ ที่นั่นจะมีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปทรงให้ความช่วยเหลือ และพระราชกรณียกิจ ที่ทรงปฏิบัตินั้นเล่าก็ล้วนอยู่ในทศพิธราชธรรม จักรวรรดิวัตร และราชสังคหวัตถุ ซึ่งธรรมะบรรดานี้ได้ยินได้ฟังกันมานานแล้วโดยไม่เห็นเป็นรูปธรรม แต่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามมินทราธิราช บรมนาถบิตร ในรัชกาลปัจจุบัน ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐของราษฎรชาวไทยพระองค์นี้ ได้ทรงนำราชธรรมที่ได้ยินได้ฟังกันมาแต่ก่อนนั้นมาปฏิบัติให้ปรากฏเห็นเป็นรูปธรรมได้อย่างชัดเจน ประจักษ์โดยทั่วกันว่าเป็นธรรมะที่สามารถนำมาปฏิบัติให้ปรากฎเห็นเป็นรูปธรรมได้อย่างชัดเจน ประจักษ์โดยทั่วกันว่าเป็นธรรมะที่สามารถนำมาปฏิบัติได้ถ้ามีความจริงใจ และปฏิบัติอย่างจริงจังอันบังเกิดผลดีแก่อาณาประชาราษฎร์โดยทั่วหน้ากัน จึงกล่าวได้ว่าเมื่อ "พระยุคลบาทยาตรา ปวงประชาเป็นสุข"

พระราชกรณียกิจ









พระราชกรณียกิจ


การจัดตั้งโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำรัสเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ตอนหนึ่งว่า "...ตอนเริ่มต้นโครงการ ลูกสี่คนก็อยู่ในวัยที่อยากรู้อยากเห็นทั้งนั้น... ทำให้เกิดความคิดว่า ในเมืองไทยนี้การศึกษาแม้จะทำกันดี ก็จะต้องช่วยกันหน่อย เพราะว่ามีเยาวชนมากเหลือเกิน โรงเรียน ครู ไม่มีทางที่จะมีได้เพียงพอ จึงคิดดูว่าหลักการของฝรั่งโน้นนั้นก็คือต้องให้ผู้ที่มีอายุมากกว่า หรือมีความรู้มากกว่า สอนผู้ที่มีอายุหรือมีความรู้น้อยกว่า จะได้ความรู้มาเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่มีความรู้มากกว่า อายุมากกว่าด้วยเพราะสามารถที่จะสอน การสอนนั้นเป็นสิ่งหนึ่งที่จะทำให้เพิ่มพูนความรู้ของตนเองแต่ในการนี้จะต้องมีรากฐานอะไรอย่างหนึ่ง ฉะนั้นจึงได้คิดทำสารานุกรมนี้ด้วยหลักการนี้..."สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนโดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้น จะบรรลุสรรพวิชาการอันเป็นสาระไว้ครบทุกแขนง เมื่อมีความต้องการหรือพอใจจะเรียนรู้เรื่องใดก็สามารถค้นหาอ่านได้โดยสะดวก นับว่าเป็นหนังสือที่มีประโยชน์เกื้อกูลการศึกษา เพิ่มพูนปัญญาด้วยตนเองของราษฎรอย่างสำคัญ โดยเฉพาะในยามที่มีปัญหาการขาดแคลนครูและสถานที่เล่าเรียนหนังสือสารานุกรมจะช่วยคลี่คลายให้บรรเทาเบาบางลงได้เป็นอย่างดี เยาวชนสามารถหาความรู้ช่วยตนเองได้จากการอ่านหนังสือ และเพื่อให้ได้ประโยชน์อันกว้างขวางยิ่งขึ้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงกำหนดหลักการทำคำอธิบายเรื่องต่าง ๆ แต่ละเรื่องออกเป็น ๓ ตอน หรือ ๓ ระดับ สำหรับให้เด็กรุ่นเล็กอ่านเข้าใจได้ระดับหนึ่ง สำหรับเด็กรุ่นกลางอ่านเข้าใจได้ระดับหนึ่ง และสำหรับเด็กรุ่นใหญ่รวมถึงผู้ใหญ่ผู้สนใจอ่านเข้าใจได้อีกระดับหนึ่ง เพื่ออำนวยโอกาสให้บิดามารดาใช้หนังสือนั้นเป็นเครื่องมือแนะนำวิชาแก่บุตรธิดา และให้พี่แนะนำวิชาแก่น้องเป็นลำดับกันลงไป นอกจากนั้นเมื่อเรื่องหนึ่งเรื่องใดมีความเกี่ยวพันต่อเนื่องถึงเรื่องอื่นๆ ก็ให้อ้างอิงถึงเรื่องนั้นๆ ด้วยทุกเรื่องไป ด้วยประสงค์จะให้ผู้ศึกษาทราบตระหนักว่าวิชาแต่ละสาขามีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกัน พึงจะศึกษาให้ครบถ้วนทั่วถึงสิ่งที่จะต้องควบคู่กันไปกับการศึกษาของเด็กและเยาวชนที่นอกจากจะต้องมีสถานที่เรียนแล้วก็จะต้องมีครูผู้มีหน้าที่อบรมสั่งสอนเด็กและเยาวชนนั้น ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีความห่วงใยมาก ด้วยต้องพระราชประสงค์ที่จะให้เด็กและเยาวชนของไทยเป็นคนดีมีศีลธรรม มีจริยธรรมมีคุณธรรม ประพฤติปฏิบัติตนแต่ในสิ่งที่ดีงามที่ถูกที่ควร การจะเป็นดังนั้นได้ย่อมต้องหมายความว่าจะต้องได้ครูที่ดีที่เป็นครูที่แท้มาเป็นผู้อบรมสั่งสอน ความเอาพระราชหฤทัยใส่ห่วงใยในเรื่องครูผู้สอนนั้นเห็นได้จากพระราชดำรัสที่พระราชทานแก่ครูอาวุโสประจำปี ๒๕๒๒ เมื่อวันที่ ๒๘ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๒๓ ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต ความตอนหนึ่งว่า "...ครูที่แท้นั้นเป็นผู้ทำแต่ความดี คือต้องหมั่นขยันและอุตสาหะพากเพียรต้องเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และเสียสละ ต้องหนักแน่น อดกลั้นและอดทน ต้องรักษาวินัย... ต้องปลีกตัวปลีกใจจากความสะดวกสบายและความสนุกรื่นเริงที่ไม่สมควรแก่เกียรติภูมิของตน..ต้องซื่อสัตย์ รักษาความจริงใจ ต้องเมตตาหวังดี ต้องวางใจเป็นกลาง ไม่ปล่อยไปตามอำนาจอคติ..." และพระราชดำรัสอีกตอนหนึ่งที่พระราชทานแก่คณะผู้แทนครูจีน ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันที่ ๘ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๒๔ มีความตอนหนึ่งว่า "...ครูนั้นจะเป็นครูจีน ครูฝรั่ง ครูแขก ชาติใดก็ตาม ผู้ที่เป็นครูนั้นจะต้องมีจิตใจที่สูง ถ้าครูใดมีจิตใจสูงก็จะทำงานของตัวด้วยความสำเร็จ จะเป็นที่นับถือของลูกศิษย์ และเป็นที่เคารพของผู้ที่เป็นประชาชนทั่ว ๆไป...ใช้คำว่าครูนั้นดูเป็นเหมือนต่ำกว่าคำว่าอาจารย์...แต่ความจริงคำว่าครูนั้นเป็นคำที่สูงยิ่ง เพราะถือว่าเป็นผู้ที่ได้รับการเคารพบูชาได้...ครูเป็นเหมือนคำศักดิ์สิทธิ์...ครูเป็นผู้ถ่ายทอดวิชาการและเป็นผู้ถ่ายทอดความประพฤติ..วิธีคิด และความดีงามทุกอย่าง ซึ่งจะสร้างให้บุคคลเป็นคนที่ดี..." จากพระราชดำรัสที่ได้อัญเชิญมานี้เป็นสิ่งแสดงให้เห็นชัดเจนว่าคุณลักษณะเหล่านี้คือสิ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์ที่จะให้ผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่เป็นครูได้มีอยู่ภายในตัวครูทุกคนเพราะเมื่อเด็กและเยาวชนได้แบบอย่างที่ดีแล้ว อย่างน้อยที่สุดคุณลักษณะต่างๆ ที่ดีเหล่านั้นก็ย่อมจะต้องซึมซาบเข้าไปในตัวเด็กและเยาวชนของชาติบ้างไม่มากก็น้อยและเพื่อเป็นขวัญกำลังใจต่อการอุทิศตัวทำงานของครูผู้ที่จะต้องมีความเสียสละอย่างสูงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงมีพระมหากรุณาทรงรับมูลนิธิช่วยครูอาวุโสไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ครูที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นครูดีเด่นได้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท รับพระราชทานเครื่องหมายเชิดชูเกียรติและเงินช่วยเหลือของมูลนิธิช่วยครูอาวุโส ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นประจำทุกปี พระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทางด้านการศึกษาที่ทรงมีต่อเด็กและเยาวชนของชาติจึงเป็นพระราชกรณียกิจที่สำคัญในอันที่จะช่วยพัฒนาพลเมืองให้มีคุณภาพเพื่อจักได้พัฒนาบ้านเมืองให้มีคุณภาพเพื่อจักได้พัฒนาบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้าต่อไปให้ทัดเทียมกันนานาอารยประเทศที่ได้มีการพัฒนาแล้วการศึกษาเป็นกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาวิชาการและประสบการณ์แก่ผู้เรียนให้มีความรู้ ความคิด สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข และสามารถแก้ไขปัญหาอุปสรรคได้ด้วยความเรียบร้อย การศึกษาจึงต้องสนองความต้องการของบุคคลและชุมชนแต่ละชุมชนที่แตกต่างกันพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นพระมหากษัตริย์ที่ใกล้ชิดกับราษฎรจนอาจกล่าวได้ว่ายิ่งกว่าพระมหากษัตริย์พระองค์ใด พระองค์มีพระวิริยะอุตสาหะเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรทุกภูมิภาค โดยเฉพาะท้องถิ่นทุรกันดาร จึงทรงทราบถึงสภาพความเป็นอยู่ของราษฎรเป็นอย่างดี ทรงทราบดีว่ายังมีเกษตรกรที่ยากจนที่ขาดที่ทำกินอยู่อีกเป็นจำนวนมาก อันเป็นปัญหาสำคัญที่จะต้องแก้ไขให้ราษฎรเหล่านั้นได้มีที่ทำกินเท่าที่พระองค์จะทรงช่วยเหลือได้ และจากการที่ได้เสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานไปประทับแรม ณ วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นประจำ ได้ทอดพระเนตรเห็นว่ามีพื้นที่ว่างเปล่าอยู่จำนวนหนึ่งในเขตจังหวัดเพชรบุรี ซึ่งเมื่อทรงตรวจสอบดูแล้วพบว่ายังเป็นพื้นที่ว่างเปล่าไร้ผู้ถือครองกรรมสิทธิ์ เหตุเพราะเป็นที่ดินกันดารไม่มีผู้ใดสนใจ จึงได้ทรงจับจองไว้ในพระปรมาภิไธยจำนวนประมาณ ๑๐,๐๐๐ ไร่ แล้วทรงหาวิธีการที่จะพลิกฟื้นผืนดินแห่งนี้ให้สามารถการเกษตรได้ เพื่อที่จะได้นำไปพระราชทานแก่เกษตรกรยากจนไร้ที่ทำกิน ได้มีที่ทำกินเป็นของตนเอง จะได้พึ่งพาตนเองได้และไม่เป็นปัญหาสังคมต่อไปในอนาคต โดยพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดทำเป็นโครงการใช้ชื่อว่า "โครงการจัดพัฒนาที่ดินในเขตพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี ตามพระราชประสงค์ทุบกะพง" ในระยะเริ่มแรกของโครงการได้ทำการคัดเลือกให้เกษตรกรจำนวน ๑๒๐ ครอบครัว ได้เข้าไปอยู่อาศัยทำกินในพื้นที่ดังกล่าวนี้ครอบครัวละ ๒๕ ไร่โดยมีเงื่อนไขว่าสมาชิกของโครงการมีสิทธิทำกินในที่ดินที่ได้รับพระราชทานนี้ตลอดไปชั่วลูกหลานแต่ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่จะนำไปซื้อขายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรโครงการนี้ตั้งแต่เริ่มจัดตั้ง และเมื่อมีเกษตรกรได้รับคัดเลือกให้เข้าไปอยู่อาศัยทำกินในที่ดินแห่งนี้แล้วก็ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมและทอดพระเนตรการทำมาหากินเพื่อเป็นกำลังใจแก่เกษตรกรเหล่านี้อยู่เสมอฯ เช่นเมื่อวันที่ ๒๖ พฤษภาคมพุทธศักราช ๒๕๑๖ ได้เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งจากวังไกลกังวล หัวหิน ไปทรงเยี่ยมเกษตรกรในโครงการจัดพัฒนาที่ดินในเขตพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี ตามพระราชประสงค์หุบกะพง อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ในโอกาสนี้ได้พระราชทานพระราชดำรัสแก่เกษตรกรตอนหนึ่งความว่า "...ที่ได้มาเยี่ยมทุกปี ก็ได้เห็นความก้าวหน้าได้ทุกปีเหมือนกัน และที่ได้รายงานรายได้เฉลี่ยต่อครอบครัวดีขึ้น ก็นับว่าเร็วพอดูเหมือนกัน เมื่อเข้ามาโดยรถยนต์ก็เห็นว่ากำลังสร้างบ้านกัน... ถ้าทุกคนขยันภายในไม่กี่ปีทุกคนก็จะมีบ้านที่น่าอยู่ แต่ก็ต้องใช้เวลาและความเพียร...ถ้าทำต่อไปด้วยความเพียรพยายามก็เชื่อว่าจะสร้างได้ทุกคน และต่อไปก็มีความก้าวหน้ายิ่ง ๆ ขึ้น ฉะนั้นก็ขอให้รักษาความสามัคคี ความเพียรพยายาม ความบากบั่น ความเข้มแข็ง โดยเฉพาะสามัคคีซึ่งสำคัญ เพื่อที่จะอุดหนุนซึ่งกันและกันให้โครงการต่าง ๆไปด้วยดี ... ก็ขอให้รักษาความดีนี้ไว้ เพื่อให้ทุกคนมีความเจริญ มีความอยู่ดีกินดี และมีความพอใจในงานของตัว.." และเมื่อทอดพระเนตรเห็นว่า "โครงการจัดพัฒนาที่ดินในเขตพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี ตามพระราชประสงค์หุบกะพง" ซึ่งเป็นโครงการนำร่องที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดตั้งขึ้นสำหรับจัดที่ดินพระราชทานแก่เกษตรกรยากจนไร้ที่ทำกิน ได้เข้าอยู่อาศัยทำกิน ได้ผลดี คือเกษตรกรสามารถที่จะทำการเกษตรเลี้ยงตนเองและครอบครัวได้ เป็นที่น่าพอพระราชหฤทัยในระดับหนึ่งแล้วก็มีพระราชดำริให้จัดตั้งโครงการต่อเนื่องในลักษณะเดียวกันนี้ขึ้นอีกที่ "ดอนขุนห้วย" อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี และที่ "หนองพลับ" ซึ่งเป็นเขตพื้นที่รอยต่อระหว่างจังหวัดประจวบคีรีขันธ์และจังหวัดเพชรบุรีโครงการจัดพัฒนาที่ดินในเขตพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตามพระราชประสงค์ ทั้ง ๓ แห่งนี้ โปรดฯให้จัดตั้งขึ้นในรูปแบบของหมู่บ้านสหกรณ์ตั้งแต่เริ่มโครงการ และแต่ละแห่งก็ได้ดำเนินการในรูปของหมู่บ้านสหกรณ์ เพื่อให้สมาชิกของโครงการได้มีการร่วมแรงร่วมใจกันทำงานมีอะไรก็ให้คอยช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และเป็นการป้องกันไม่ให้พ่อค้าคนกลางเข้ามาเอารัดเอาเปรียบสมาชิกของโครงการได้ พระราชประสงค์นี้เห็นได้ชัดจากพระราชดำรัสที่พระราชทานแก่สมาชิกสหกรณ์การเกษตรหุบกะพง จำกัด เมื่อเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมสมาชิกสหกรณ์ฯ เมื่อวันที่ ๑๕ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๑๗ ว่า "....เคยพูดมาหลายปีแล้วว่าเราจะต้องพัฒนาตัวเอง ถ้ามีผู้มาช่วยเราก็ยินดี แต่ว่าต้องรับการช่วยเหลือส่วนหนึ่ง และสร้างด้วยตนเองอีกส่วนหนึ่ง ในที่สุดจะต้องสร้างตัวเองด้วยตัวเองโดยแท้ สำหรับหมู่บ้านนี้ซึ่งถือว่าเป็นหมู่บ้านสหกรณ์ หมายถึงว่าเป็นหมู่บ้านที่สมาชิกทุกคนอยู่ด้วยกันและเอาใจใส่ซึ่งกันและกัน จึงมีความสำคัญที่สุดที่จะให้ทุกคนเอาใจใส่ซึ่งกันและกัน มีเมตตาซึ่งกันและกัน ผู้ใดที่มีโอกาสมีรายได้มากกว่าผู้อื่น ก็ควรที่จะเอาใจใส่ผู้ที่มีโอกาสน้อยกว่า เพราะว่าถ้าแต่ละคนเอาใจใส่และทำให้ทุกคนมีความก้าวหน้าได้ จะทำให้ตนเองมีความก้าวหน้าได้โดยแท้ ด้วยความมั่นคง ผู้ใดมีความคิดก็ควรจะนำมาปรึกษาหารือกัน...จะทำให้ความเป็นอยู่ของหมู่บ้านเป็นไปอย่างดีขึ้นและรวดเร็วขึ้น...และจะทำให้แต่ละคนทั้งหมดมีความรู้สึกว่า ได้สร้างตัวเอง...มีความรู้สึกสบายใจ มีความรู้สึกว่าเป็นผู้ที่อยู่ด้วยความสบายและนับถือตัวเองได้..."ประเทศไทยของเราค่อนข้างจะโชคดีทางด้านที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ เพราะมีลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดผ่านพาเอาฝนมาตกในช่วงต้นฤดูฝน และมีลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดพาฝนมาตกตอนปลายฤดูฝน ส่งผลให้ประเทศไทยเป็นอู่ข้าวอู่น้ำ มีทรัพยากรป่าไม้และทรัพยากรน้ำอุดมสมบูรณ์แต่ประเทศไทยในปัจจุบันนี้ไม่ได้มีทรัพยากรป่าไม้ และทรัพยากรน้ำอุดมสมบูรณ์เฉกเช่นแต่กาลก่อน เนื่องมาจากเหตุหลายประการด้วยกัน เช่นประชากรเพิ่มมากขึ้น มีความจำเป็นต้องการพื้นที่ทำกินเพิ่มขึ้นตามจำนวนประชากรที่เพิ่ม จึงมีการตัดไม้ทำลายป่ามากขึ้นเป็นเงาตามตัวไปด้วย ตลอดทั้งมีความต้องการใช้ทรัพยากรน้ำมากขึ้นตามประชากรที่เพิ่มทรัพยากรของประเทศไทยจึงตกอยู่ในสภาวะเสื่อมโทรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งทรัพยากรป่าไม้ ซึ่งจากข้อมูลของทางราชการนั้น ในพุทธศักราช ๒๕๐๔ ประเทศไทยเหลือพื้นที่ป่าไม้จำนวนประมาณ ๑๗๐ ล้านไร่ ในพุทธศักราช ๒๕๒๘ เหลือพื้นที่ป่าไม้จำนวนประมาณ ๙๔ ล้าน ๓ แสนไร่ และข้อมูลหลังสุดที่ทำการสำรวจเมื่อพุทธศักราช ๒๕๓๖ ประเทศไทยของเราเหลือพื้นที่ที่เป็นป่าไม้เพียง ๘๓ ล้าน ๔ แสน ไร่เท่านั้น ทั้ง ๆ ที่รัฐได้ยกเลิกสัมปทานป่าไม้ไปแล้วตั้งแต่พุทธศักราช ๒๕๓๒ ซึ่ง แสดงให้เห็นว่ายังคงมีผู้ทำการลักลอบตัดไม้ทำลายป่ากันอยู่โดยเฉลี่ยอีกปีละประมาณ ๑ ล้าน ๑ แสนไร่ และจากการที่ประเทศไทยต้องสูญเสียทรัพยากรป่าไม้ไปอย่างรวดเร็วในช่วงเวลา ๓๐ ถึง ๔๐ ปีอย่างต่อเนื่องกันนั้น ทำให้เกิดมีผลกระทบอย่างมหาศาลต่อการเสียความสมดุลของระบบนิเวศน์ กล่าวคือเมื่อแหล่งต้นน้ำลำธารถูกทำลายอุณหภูมิบนผิวดินก็เกิดการเปลี่ยนแปลงไป หน้าดินถูกชะล้างทำลายไปเพราะขาดต้นไม้คอยช่วยปกป้อง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทราบและตระหนักในเรื่องนี้มานานแล้ว เพราะเมื่อเสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานไปประทับแรม ณ พระตำหนัก ภูพิงคราชนิเวศน์ จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อทรงเยี่ยมราษฎรในภาคเหนือและภูมิภาคใกล้เคียงนั้นได้ทอดพระเนตรเห็นป่าไม้ที่เป็นแหล่งของต้นน้ำลำธารถูกทำลายไปเป็นจำนวนมาก ทั้งจากราษฎรพื้นราบ และจากราษฎรชาวไทยภูเขา และเพื่อเป็นการหยุดยั้งการตัดไม้ทำลายป่าที่เป็นแหล่งของต้นน้ำลำธารไม่ให้ต้องถูกทำลายไปเป็นจำนวนมากกว่านี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดตั้ง "โครงการหลวง" ขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ในพุทธศักราช ๒๕๑๒ เป็นโครงการส่วนพระองค์ ซึ่งได้พระราชทานพระราชดำรัสเกี่ยวกับโครงการหลวงเมื่อแรกตั้งว่า "...ที่มีโครงการนี้จุดประสงค์อย่างหนึ่งก็คือมนุษยธรรม หมายถึงให้ผู้ที่อยู่ในถิ่นทุรกันดารสามารถที่จะมีความรู้และพยุงตัวมีความเจริญได้ อีกอย่างหนึ่ง... คือปัญหาเรื่องยาเสพติด ถ้าสามารถช่วยชาวเขาปลูกพืชที่เป็นประโยชน์บ้าง เขาจะเลิกปลูกยาเสพติดคือฝิ่น ทำให้นโยบายการระงับ การปราบปรามการสูบฝิ่นและการค้าฝิ่นได้ผลดี อันนี้ก็เป็นผลอย่างหนึ่ง ผลอีกอย่างหนึ่งซึ่งสำคัญคือ ชาวเขาตามที่รู้เป็นผู้ที่ทำการเพาะปลูกโดยวิธีจะทำให้บ้านเมืองของเราไปสู่หายนะได้ โดยที่ถางป่าและปลูกโดยวิธีที่ไม่ถูกต้อง ถ้าพวกเราทุกคนไปช่วยเขา ก็เท่ากับช่วยบ้านเมืองให้มีความดี ความอยู่ดีกินดี และปลอดภัยได้อีกทั่วประเทศ เพราะถ้าสามารถทำโครงการนี้ได้สำเร็จ ให้ชาวเขาอยู่เป็นหลักเป็นแหล่ง สามารถที่จะมีความอยู่ดีกินดี พอสมควร และสนับสนุนนโยบายที่จะรักษาป่าไม้ รักษาดินให้เป็นประโยชน์ต่อไปประโยชน์อันนี้จะยั่งยืนมาก..""โครงการหลวง" ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดฯ ให้จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะช่วยชาวเขาเพื่อมนุษยธรรม ช่วยลดการทำลายทรัพยากรป่าไม้กำจัดการปลูกฝิ่น รักษาดินและใช้พื้นที่ให้ถูกต้อง คือให้ป่าอยู่ในส่วนที่ควรเป็นป่าและทำไร่ทำสวนทำนาในส่วนที่ควรเพาะปลูกไม่ให้ทั้งสองส่วนนี้รุกล้ำซึ่งกันและกันก็จะสามารถฟื้นฟูสภาพป่าไม้ได้เป็นบางส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งป่าไม้ทางตอนบนของประเทศซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารอันสำคัญของพื้นที่ราบภาคกลางทางตอนใต้ซึ่งเรื่องการฟื้นฟูสภาพป่านั้นถ้ามนุษย์ไม่ไปบุกรุกยึดครองแผ้วถางป่าเพื่อทำการอย่างอื่นแล้ว ป่าไม้นั้นก็จะฟื้นตัวได้เองตามธรรมชาติ ในเรื่องนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเคยมีพระราชดำรัสพระราชทานแก่คณะบุคคลต่างๆ ที่เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายชัยมงคลในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๓๗ ว่า "...เรื่องต้นไม้ขึ้นเองมีอีกแห่งหนึ่ง คือโครงการเขาชะงุ้ม ที่จังหวัดราชบุรี ที่ตรงนั้นอยู่ใกล้ภูเขา เป็นที่ที่ป่าเสียไป เป็นป่าเสื่อมโทรม ที่เรียกว่าป่าเสื่อมโทรมเพราะมันไม่มีต้นไม้ ไม่มีชิ้นดี เริ่มทำโครงการนั้นมาประมาณ ๗ ปีเหมือนกัน ไปดูเมื่อสัก ๒ ปี หลังจากทิ้งป่านั้นไว้ ๕ ปี ตรงนั้นไม่ได้ทำอะไรเลย แต่ป่าเจริญเติบโตขึ้นมาเป็นป่าอุดมสมบูรณ์ ไม่ต้องไปปลูกสักต้นเดียว คือว่าการปลูกป่านี้สำคัญอยู่ที่ปล่อยให้เขาขึ้นได้ คืออย่าไปตอแยต้นไม้ อย่าไปรังแกต้นไม้ เพียงแต่ว่าคุ้มครองเขาหน่อย เขาขึ้นเอง อย่างในระยะ ๒๐ ปี ที่ผ่านมานี้ เมืองไทยจากที่อุดมสมบูรณ์เป็นสวน เป็นป่า กลายเป็นทะเลทราย เราจะทำให้ประเทศไทยกลับมีความอุดมสมบูรณ์ มีความชุ่มชื่นได้ ขออย่าไปรังแกป่าเท่านั้นเองไม่ต้องทำอะไรมาก..."ในส่วนโครงการหลวงนั้นได้ดำเนินงานไปอย่างต่อเนื่องจริงจัง สามารถหยุดยั้งราษฎรชาวไทยภูเขาไม่ให้ถางป่าทำไร่เลื่อนลอยได้ อันเป็นการสงวนทรัพยากรธรรมชาติป่าไม้ตอนบนของประเทศไว้ได้ส่วนหนึ่ง และผลงานที่สำคัญยิ่งของโครงการหลวง คือการกำจัดการปลูกฝิ่นได้โดยสันติวิธีอันเป็นการสร้างสรรค์และก่อให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างนานาชาติ จนโครงการหลวงได้รับการคัดเลือกตัดสินให้ได้รับรางวัลแมกไซไซ เมื่อวันที่ ๓๑ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๓๑ ในสาขา INTERNATIONAL UNDERSTANDING ต่อมา ในเดือนมกราคม พุทธศักราช ๒๕๓๖ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จดทะเบียนโครงการหลวงเป็นมูลนิธิ เพื่อจะได้เป็นองค์กรนิติบุคคลมีกฎหมายรองรับ สำหรับดำเนินงานให้มั่นคงเป็นปึกแผ่นสืบต่อไป โดยได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน ๕๐๐,๐๐๐ บาท เป็นทุนเริ่มแรกในการจดทะเบียนโครงการหลวงเป็น "มูลนิธิโครงการหลวง" เมื่อเดือนมีนาคม พุทธศักราช ๒๕๓๖ และมีพระมหากรุณาทรงรับเป็นประธานกิตติมศักดิ์ของมูลนิธิโครงการหลวง ซึ่งในปัจจุบันมีพื้นที่ดำเนินงานครอบคลุมพื้นที่ ๕ จังหวัดในภาคเหนือ ได้แก่เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน แม่ฮ่องสอน และพะเยาพระราชกรณียกิจที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปฏิบัติและเอาพระราชหฤทัยใส่มาโดยตลอดอย่างต่อเนื่องอีกประการหนึ่ง คือพระราชกรณียกิจด้านการแพทย์และการสาธารณสุข เพราะมีพระราชดำริว่าการรักษาความสมบูรณ์แข็งแรงของร่างกายเป็นปัจจัยของเศรษฐกิจที่ดีและเกิดสังคมที่มั่นคงเพราะร่างกายที่แข็งแรงนั้นโดยปกติจะอำนวยผลให้สุขภาพของร่างกายและจิตใจสมบูรณ์ด้วย และเมื่อมีสุขภาพสมบูรณ์ดีพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจแล้ว ย่อมมีกำลังทำประโยชน์สร้างสรรค์เศรษฐกิจและสังคมของบ้านเมืองได้เต็มที่ ทั้งไม่เป็นภาระแก่สังคมด้วย คือเป็นแต่ผู้สร้างมิใช่ผู้ถ่วงความเจริญ และจากการที่ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรในชนบทตามภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทอดพระเนตรเห็นว่าราษฎรเป็นจำนวนมากขาดการดูแลเอาใจใส่ในเรื่องการรักษาสุขภาพอนามัยเท่าที่ควรจะเป็น ดังนั้น ในพุทธศักราช ๒๕๑๐ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดตั้งโครงการหน่วยแพทย์พระราชทานขึ้น เมื่อเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎร ณ สถานที่ใด ก็โปรดฯ ให้หน่วยแพทย์พระราชทานตามเสด็จไปรักษาพยาบาลราษฎรผู้เจ็บป่วยด้วยทุกครั้ง หน่วยแพทย์พระราชทานนี้เป็นการช่วยบรรเทาปัญหาด้านสุขภาพอนามัยให้แก่ราษฎรผู้เจ็บป่วยที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชนบทห่างไกล ซึ่งส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดล้วนยากจน ขาดความรู้ขั้นพื้นฐานด้านการสาธารณสุขที่จะดูแลรักษาตัวเอง ดังนั้น การที่มีแพทย์พระราชทานออกไปช่วยดูแลบำบัดรักษาราษฎรที่เจ็บป่วยอย่างถูกต้อง โดยราษฎรไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล จึงเป็นพระมหากรุณาธิคุณแก่ราษฎรผู้ป่วยเจ็บอย่างหาที่สุดมิได้และจากจำนวนตัวเลขที่ปรากฎในแต่ละปีก็จะมีราษฎรที่เจ็บป่วยมาขอรับการรักษาพยาบาลเพิ่มมากขึ้นทุกปี โครงการที่เป็นพระราชดำริด้านการแพทย์และการสาธารณสุขจึงได้ขยายขอบข่ายออกไปอย่างกว้างขวาง และในระยะต่อมาก็ได้มีคณะของหน่วยแพทย์อาสาขอพระราชทานตามเสด็จไปสมทบช่วยเหลือด้านการรักษาพยาบาลให้แก่ราษฎรขึ้นอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นผลดีต่อสุขภาพอนามัยของราษฎร ที่มีแพทย์อาสาเข้ามาช่วยในการรักษาพยาบาลเพิ่มขึ้น ซึ่งต้องกับพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่จะให้ราษฎรในชนบทห่างไกลได้รับการดูแลในเรื่องสุขภาพอนามัยอย่างถูกต้องและให้ดีขึ้นกว่าที่เป็นมา ในเรื่องนี้ได้มีพระราชดำรัสพระราชทานแก่คณะกรรมการบริหารราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันที่ ๑๗ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๒๔ ตอนหนึ่งความว่า "...การที่ได้จัดคณะแพทย์ไปปฏิบัติงานในต่างจังหวัดเป็นระยะหนึ่งนั้น นับว่าเป็นประโยชน์ที่จะช่วยรักษาพยาบาลชาวบ้านที่ต้องการความช่วยเหลือ ซึ่งในโรงพยาบาลของจังหวัดนั้น ๆ ไม่สามารถที่จะบริการได้เต็มที่ เพราะบางแห่งอาจจะขาดแคลนผู้มีฝีมือ ทำให้ประชาชนได้รับการรักษาอย่างดีที่จะช่วยชีวิตเขาได้ คณะของราชวิทยาลัยศัลยแพทย์นี้ได้ช่วยชีวิตคนนับได้ว่าเป็นร้อย ๆ คน เพราะว่าสามารถที่จะบริการได้ทันท่วงที และไม่ทำให้ชาวบ้านต้องเดือดร้อนในการเสียค่าใช้จ่ายด้วยการออกหน่วยเช่นนี้จึงเป็นประโยชน์ในด้านการรักษาประชาชนอย่างหนึ่ง และก็เป็นประโยชน์อีกด้านหนึ่ง สำหรับนายแพทย์ที่ออกไปก็ได้ประโยชน์อย่างยิ่ง และสำหรับนายแพทย์ที่อยู่ในโรงพยาบาลจังหวัดนั้น ๆ ก็ได้ประโยชน์มาก ๆ เท่ากับได้เข้าฝึกอบรม.... ได้ความรู้มากทั้งในด้านได้ทราบสถิติของความเจ็บไข้ได้ป่วยและจะช่วยอย่างไรทั้งในด้านฝีมือและวิชาการด้วย..."พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระมหากษัตริย์นักสังคมสงเคราะห์ได้พระราชทานความช่วยเหลือแก่ราษฎรทั้วไปในเกือบจะทุกๆ ด้าน ทั้งผู้ที่เจ็บไข้ได้ป่วย ผู้ขาดแคลนที่ทำมาหากิน ผู้ที่ขาดแคลนสถานที่ศึกษา ขาดแคลนทุนการศึกษาสงเคราะห์ผู้ที่ประสบภัยธรรมชาติ เช่น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ ๒๕ ตุลาคมพุทธศักราช ๒๕๐๕ ได้เกิดวาตภัยครั้งยิ่งใหญ่ทางภาคใต้ของประเทศไทย ทำความเสียหายถึง ๑๒ จังหวัด มีประชาชนต้องเสียชีวิต โรงเรียนประถมศึกษาถูกพายุพัดพังถึง ๑๒ โรง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระมหากรุณาพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ไปช่วยบรรเทาความเดือดร้อนเฉพาะหน้าให้แก่ราษฎร มีผู้โดยเสด็จพระราชกุศลสมบทเงินช่วยเหลืออีกจำนวนมาก หลังจากการช่วยเหลือราษฎรที่ได้รับความเดือดร้อนในระยะแรกแล้ว ยังมีเงินเหลืออยู่ ๓ ล้านบาท จึงมีพระราชดำริให้นำไปตั้งเป็นกองทุนหาดอกผลไว้สงเคราะห์เด็กที่ครอบครัวต้องประสบวาตภัยครั้งนั้น และไว้ช่วยเหลือราษฎรที่ประสบสาธารณสุขภัยทั่วประเทศ ซึ่งเป็นที่มาของมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ร่วมกับจังหวัดที่เกี่ยวข้องกับการถูกวาตภัยก่อสร้างโรงเรียนขึ้นใหม่ ทดแทนโรงเรียนที่ถูกพายุพัดพังไปรวม ๑๒ โรง และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานชื่อว่า "โรงเรียนราชประชานุเคราะห์" และในเวลาต่อมาได้ร่วมกับจังหวัดอื่น ๆ เช่น หนองคาย เชียงรายมหาสารคาม สร้างโรงเรียนขึ้นทดแทนโรงเรียนที่ถูกสาธารณภัย เช่น ไฟไหม้ หรือถูกพายุพัดพัง นอกจากนั้น มูลนิธิฯยังรับเป็นผู้ปกครองนักเรียนที่สูญเสียผู้ปกครองในคราวถูกวาตภัยเมื่อปี ๒๕๐๕ นั้นและครั้งต่อๆ มา ได้ดูแลเลี้ยงดูและให้การศึกษาจนสุดสติปัญญาและความต้องการของเด็กแต่ละคนเป็นจำนวนกว่า ๒๐๐ คน พระมหากรุณาธิคุณดังกล่าวจึงเป็นการสร้างคนอย่างแท้จริง และคนเหล่านั้นก็จะเป็นกำลังของบ้านเมืองสืบไป พระราชกรณียกิจด้านสังคมสงเคราะห์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงยิ่งใหญ่จนสุดที่จะพรรณนาได้ กล่าวได้ว่าเกิดความทุกข์แก่ราษฎรที่ใด ก็จะพบเห็นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ ที่นั้น พระองค์ไม่เคยที่จะทรงทอดทิ้งราษฎรผู้ประสบภัยหรือประสบความทุกข์ยากให้ต้องอยู่เดียวดาย หากไม่สามารถจะเสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานความช่วยเหลือได้ด้วยพระองค์แล้ว ก็จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ข้าราชบริพารที่ทรงไว้วางพระราชหฤทัยเดินทางไปให้ความช่วยเหลือ และในเรื่องงานสังคมสงเคราะห์นั้นได้เคยพระราชทานพระราชดำรัสแก่คณะกรรมการอำนวยการ ประธานคณะกรรมการประสานงานส่วนภูมิภาค และผู้อำนวยการของสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ที่เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันที่ ๑๔ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๒๔ ไว้ ความตอนหนึ่งว่า "...การสังคมสงเคราะห์นั้นก็แบ่งเป็นส่วนต่างๆ ได้สองสามอย่าง ถ้าแบ่งเป็นว่าจะไปสงเคราะห์ผู้ที่ตกทุกข์ได้ยาก ตกทุกข์ได้ยากนี้ คนเรามีทุกข์ที่เป็นตามสภาพ คือว่าเกิดมาก็มีทุกข์ คือมีความเดือดร้อนความยากลำบากในการครองชีพในการมีชีวิตอยู่ ซึ่งเป็นทุกข์ตามสภาพ เกิดมาแล้วก็มีทุกข์ ทุกข์นั่นที่สำคัญก็คือต้องมีอาหาร ต้องมีจตุปัจจัย จึงพูดกันว่าทุกคนที่เกิดแล้วเมื่อมีกำลังก็ต้องทำมาหาเลี้ยงชีพ หรือมีอาชีพการงานที่สุจริตเพื่อที่จะเลี้ยงชีพ...มีคนเป็นจำนวนมากในโลกนี้ที่ไม่มีอาหารใส่ท้องก็เป็นทุกข์มากจึงต้องสงเคราะห์ ในประเทศไทยก็นับว่าน้อย เพราะว่ายังมีที่จะทำมาหากินได้ดีพอสมควร แล้วก็โดยที่โครงสร้างของสังคมยังดี ตรงที่คนที่ตกทุกข์ได้ยากโดยมากก็ได้รับการช่วยเหลือเป็นประเพณีมา อันนี้ก็อยู่ในเรื่องของการสงเคราะห์..ทุกข์อีกอย่างหนึ่งที่เป็นทุกข์ในโอกาสบางโอกาส ซึ่งก็เป็นระดับชาติเหมือนกัน แต่ว่าเป็นโอกาส เช่นทุกข์จากภัยธรรมชาติหรือภัยที่เกิดขึ้นมาตามโอกาส ดังนี้ก็จะต้องช่วยผู้ที่ประสบภัย จะเป็นอุทกภัย วาตภัย อัคคีภัย ที่เกิดมา หรือภัยอื่น ๆ ที่มีมากมาย อันนี้ก็จะต้องช่วย เป็นเรื่องของการสงเคราะห์ทุกข์ที่เกิดขึ้นขณะนั้น นอกจากนี้ก็มีการสงเคราะห์ทุกข์ที่คล้ายคลึงกับทุกข์อันแรกคือตามสภาพ แต่ว่าจะเป็นเฉพาะกับคนอย่างพวกที่พิการ ทุพพลภาพ เป็นต้น เพราะเกิดมาทุพพลภาพ เพราะโรคภัยไข้เจ็บหรือเพราะอุปัทวเหตุก็ตาม.. อันนี้ก็เป็นสิ่งที่จะต้องสงเคราะห์ทั้งนั้น...."ในการเสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานไปประทับแรม ณ พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ จังหวัดนราธิวาส เป็นครั้งแรก ในพุทธศักราช ๒๕๑๖ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทอดพระเนตรสภาพพื้นที่ซึ่งเป็นพรุหรือหนองน้ำเป็นจำนวนมากที่ไม่สามารถทำประโยชน์ได้และด้วยเหตุที่ได้เคยทอดพระเนตรการวิจัยของสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียมาแล้ว จึงทำให้ทรงเข้าพระราชหฤทัยในเรื่องระบบระบายน้ำอย่างแจ่มแจ้ง ดังนั้น เมื่อความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทในเดือนกันยายน พุทธศักราช ๒๕๑๗ ว่าราษฎรในเขตอำเภอบาเจาะและในเขตอำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส ต้องประสบกับปัญหาอุทกภัยในบริเวณพื้นที่รอบ ๆ พรุในช่วงฤดูฝนเพราะเหตุที่น้ำฝนไหลบ่าจากภูเขาลงสู่พรุเป็นจำนวนมากและท่วมล้นเข้าไปในไร่นาของราษฎร คิดเป็นพื้นที่ที่เสียหายประมาณปีละ ๖๐,๐๐๐ ไร่เศษ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระราชดำริในการแก้ไขปัญหาอุทกภัยแก่กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมชลประทานได้รับสนองพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการหาทางป้องกันอุทกภัยในพื้นที่อำเภอบาเจาะ และอำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส โดยการขุดคลองระบายน้ำออกจากพรุบาเจาะลงสู่ทะเลมีความยาว ๕.๖ กิโลเมตร แล้วเสด็จภายในระยะเวลา ๔ เดือน ผลปรากฏว่าในเดือนมกราคม พุทธศักราช ๒๕๑๘ ซึ่งเป็นปีที่มีมรสุมหนัก ฝนตกเป็นจำนวนมาก แต่ได้อาศัยคลองระบายน้ำที่มีพระราชดำริให้ขุดไว้แล้วนั้นสามารถที่จะระบายน้ำออกจากพรุลงสู่ทะเลได้เป็นอย่างดี และไม่เกิดสภาพอุทกภัยอย่างที่เคยเกิด นับเป็นครั้งแรกในรอบ ๕ ปีที่ราษฎรสามารถปลูกข้าวและเก็บเกี่ยวข้าวไว้บริโภคและจำหน่ายได้ โดยเฉลี่ยจากเดิมที่เคยเก็บเกี่ยวได้ไร่ละ ๒๔ ถัง เพิ่มขึ้นเป็นไร่ละ ๕๐ ถังในการดำเนินงานขุดคลองระบายน้ำออกจากพรุบาเจาะลงสู่ทะเลนั้นเป็นงานที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงห่วงใยมากเพราะเป็นการดำเนินงานในลักษณะที่พิเศษนอกเหนือจากงานประจำของกรมชลประทานที่ได้ดำเนินงานตามนโยบายของรัฐและงานประจำในด้านการดำเนินงานในโครงการชลประทานขนาดเล็กอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ดังนั้น เมื่อทรงหายจากอาการทรงพระประชวรด้วยพระปัปผาสะ (ปอด) อักเสบ ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๑๘ จึงได้เสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานในเดือนเมษายน ศกเดียวกันนั้น พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอทั้งสองพระองค์ ไปประทับแรม ณ พระตำหนัก ทักษิณราชนิเวศน์ จังหวัดนราธิวาส เพื่อจะได้เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรผลงานการขุดคลองระบายน้ำออกจากพรุบาเจาะได้ทรงพระดำเนินทอดพระเนตรบริเวณสองฝั่งของคลองระบายน้ำ ซึ่งมีสะพานข้ามคลองเป็นระยะๆ เพื่อให้ราษฎรใช้เป็นเส้นทางสัญจรไปมาได้โดยสะดวก และเมื่องานขุดคลองระบายน้ำออกจากพรุบาเจาะแล้วเสร็จโดยสมบูรณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดประตูบังคับน้ำ ปล่อยน้ำเสียออกจากพรุลงสู่ทะเล เมื่อวันที่ ๒ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๑๘ โครงการระบายน้ำออกจากพรุบาเจาะนั้น เป็นการดำเนินงานที่ถือเป็นต้นแบบสำหรับที่จะนำไปดำเนินการขุดคลองระบายน้ำออกจากพรุในท้องที่อื่น ๆ เช่น โครงการขุดคลองระบายน้ำออกจากพรุโต๊ะแดง อำเภอระแงะ อำเภอสุไหงปาดี อำเภอสุไหงโก-ลก อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส เป็นต้น และนอกจากจะมีพระราชดำริให้กรมชลประทานขุดคลองระบายน้ำออกจากพรุลงสู่ทะเลเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาอุทกภัยขึ้นในเขตพื้นที่ต่าง ๆ ในจังหวัดนราธิวาส เพื่อไม่ให้ราษฎรต้องเดือดร้อนแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังมีพระมหากรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้หน่วยราชการต่าง ๆ วิจัยสภาพดินที่ได้จากพรุที่แห้งขึ้นทุกระยะ การปรับปรุงดินในระยะแรกนั้นได้จัดปลูกหญ้าเป็นทุ่งเลี้ยงสัตว์ตามแนวพระราชดำริ เพื่อให้มูลสัตว์เป็นปุ๋ยปรับปรุงดินตามธรรมชาติ ส่วนพวกวัชพืชที่ทับถมภายในพรุนั้น เมื่อขุดขึ้นมาตากแห้งแล้วสามารถนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงได้เป็นอย่างดี เจ้าหน้าที่ได้ทดลองปลูกพืชไร่และพืชผักสวนครัวเพื่อเก็บสถิติเกี่ยวกับความเจริญเติบโตในพื้นที่พรุที่แห้งแล้ว โดยใส่ปุ๋ยสูตรต่าง ๆ กัน การทดลองดังกล่าวได้ดำเนินการที่ศูนย์พัฒนาที่ดินนรานิวาส บ้านโคกกระดูกหมู ตำบลไพรวัน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ของกองบริรักษ์ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งกรมพัฒนาที่ดินจัดสร้างขึ้นสนองพระราชดำริ เพื่อจะได้นำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเขตพื้นที่ที่มีลักษณะใกล้เคียงกันต่อไป จะได้เกิดประโยชน์แก่ราษฎร เช่นในพื้นที่พรุที่แห้งแล้วที่หมู่บ้านปิเหล็ง ตำบลมะรือโบตะวันออก อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส นั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานแนวพระราชดำริให้จัดตั้งเป็นโครงการหมู่บ้านสหกรณ์ปิเหล็ง ซึ่งได้เริ่มดำเนินงานในเดือนพฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๒๑ แต่เดิมพรุปิเหล็งมีน้ำขังอยู่ตลอดปี และท่วมล้นขอบพรุในฤดูมรสุม เมื่อระบายน้ำออกไปแล้ว องค์การบริหารส่วนจังหวัดนราธิวาสได้พัฒนาพื้นที่ขอบพรุส่วนหนึ่ง และกรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทย ได้ประกาศให้พื้นที่สหกรณ์นิคมบ้านปิเหล็งเป็นหมู่บ้านพัฒนาสมบูรณ์แบบ โดยร่วม จัดสรรที่ดินให้สมาชิกเข้าทำกินครอบครัวละ ๓๐ ไร่ เป็นการสนองพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเกี่ยวกับการจัดหมู่บ้านสหกรณ์ในแบบลักษณะหมู่บ้านสหกรณ์การเกษตรหุบกะพง จำกัด ที่ตำบลเขาใหญ่ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี เพราะทรงทราบเป็นอย่างดีว่า สหกรณ์นั้น หากสามารถนำมาใช้ให้ถูกวิธีแล้วจะเกิดประโยชน์อย่างมหาศาล ทั้งแก่สมาชิกสหกรณ์ที่ตนเองสังกัดอยู่ และจะเกิดผลดีต่อส่วนรวมคือประเทศชาติในท้ายที่สุดด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดตั้งสหกรณ์ในรูปแบบของสหกรณ์อเนกประสงค์ ดังพระราชดำรัสตอนหนึ่งที่พระราชทานในโอกาสที่อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์นำประธานสหกรณ์การเกษตรและสหกรณ์นิคมทั่วประเทศเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ณ ศาลาดุสิตาลัย สวนจิตรลดา เมื่อวันที่ ๑๒ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๒๐ ว่า "...อันคำว่าสหกรณ์นี้ เป็นคำที่กว้าง ความหมายจริงจังของคำว่าสหกรณ์ ก็คือการร่วมกันสร้างชีวิตในการงานและความเป็นอยู่ ถ้าดูตามตำราซึ่งมีมากหลาย ก็จะเห็นเขาแบ่งกันว่า มีสหกรณ์หลายชนิด โดยเฉพาะมีสหกรณ์การเกษตร มีสหกรณ์การบริโภค มีสหกรณ์อื่น ๆ หลายอย่าง จนกระทั่งมีสหกรณ์อเนกประสงค์ ความจริงทุกอย่างที่กล่าวว่าเป็นสหกรณ์ และการตั้งสหกรณ์ก็น่าจะเป็นในด้านสหกรณ์อเนกประสงค์...เพราะว่าชีวิตของแต่ละคน แต่ละครอบครัวและแต่ละหมู่บ้าน ที่อยู่กันเป็นหมู่ เป็นกลุ่มบุคคล ย่อมจะต้องอาศัยกิจกรรมหลายอย่าง คืองานหลายอย่าง เช่นการทำมาหากิน จะเป็นการเพาะปลูกก็ตาม หรือการผลิตทางอุตสาหกรรมก็ตาม หรือการผลิตทางเกษตรกรรม และมาดัดแปลงเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือนก็ตาม ไม่มีอย่างเดียวที่จะประทังชีวิตได้ จึงต้องมีกิจการที่เกี่ยวข้องกับตัวในด้านต่าง ๆ จึงจำเป็นที่จะตั้งสหกรณ์ คือร่วมแรงกันแบบสหกรณ์อเนกประสงค์ อาจจะหนักในกิจการด้านหนึ่งด้านใดก็ตาม แต่สหกรณ์นี้จะต้องปฏิบัติในกิจการหลายด้าน.."